คนสุดขีดนักกล้ามหญิงปลาน้ำลึกรถแต่งซิ่ง7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกสิ่งก่อสร้างสุดขีดพับกระดาษสมุดระบายสี

วัสดุใหม่ พลาสติก ที่ผลิตจาก น้ำโคลน



Earth โลก และชาวโลก ต่างตระหนักดีถึงปิโตรเลียม(น้ำมัน) เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป และความความต้องการปิโตรเลียม นั้นสวนทางกับปริมาณปิโตรเลียมที่ลดลงทุกวันของพวกมัน ทำให้ราคาสูงขึ้นทุกวัน มนุษย์ได้แสวงหาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก เพื่อรองรับวิกฤการณ์นี้ แต่ หากวันใดไม่มีปิโตรเลียม ก็จะปราศจาก พลาสติก ด้วย เนื่องจากพลาสติกนั้นผลิตจาก ปิโตรเลียม

ข้อมูล รายละเอียด ของพลาสติกที่ผลิตจากน้ำโคลน

  • ผู้คิดค้น และผลิต พลาสติกชนิดใหม่ เป็นนักวิจัยชาวญี่ปุ่น นามว่า Takuzo Aido และทีมงาน
  • ส่วน ผสมของพลาสติกชนิดใหม่นี้ประกอบไปด้วย อนุภาคดินเหนียว(Clay) 2-3 กรัม , น้ำ 100 กรัม , เจลดูดน้ำ( Sodium Polyacrylat ที่ใช้ปลูกต้นไม้ มีลักษณธคล้ายวุ้น ) และกาวยึดอนุภาค( Molecular Glue )
  • โดย เจลดูดน้ำจะกระตุ้นให้อนุภาคของดิน แผ่ตัวออกเป็นชั้นบางๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวของอนุภาค ทำให้กาวยึดอนุภาค สามารถเข้าไปยึดเกาะได้ดียิ่งขึ้น
  • วัสดุพวกนี้ถูกเรียกรวมว่าเป็นวัสดุในกลุ่ม Hydrogel
  • เนื่องจากมีส่วนผสมของน้ำมากถึงร้อยละ 98 ทำให้มันมีลักษณะโปร่งใส
  • กำลัง ของวัสดุนี้เกิดจาก แรงที่กระทำระหว่างแผ่นอนุภาคดินบางๆระดับนาโน กับ กาว ซึ่ง Takuzo Aido เรียกแรงนี้ว่า Supranolecular Forces ที่ช่วยกักอนุภาคน้ำไว้ระหว่าง แผ่นอนุภาคดิน
  • ข้อ ได้เปรียญของวัสดุใหม่นี้ที่เหนือกว่า ไฮโดรเจล อื่นคือ โดยทั่วไปไฮโดรเจล อาศัย แรงยึดเหนี่ยวทางเคมีโดเวเลนต์( Covalent Chemical Bonds ) ซึ่งเมื่อแรงยึดเหนี่ยวนี้ถูก ขัดขวางจะทำให้ไฮโดรเจลเกิดการเสียกำลังอย่าง ฉับพลัน
  • แต่ วัสดุใหม่นี้อาศัยแรง Supranolecular Forces เมื่อศูนย์เสียกำลังจากความเค้น(Stress)จะสามารถคืนกำลังตัวเองกลับมาได้ อย่างรวดเร็ว
  • วัสดุ นี้ถือว่าเป็นวัสดุคลาสใหม่(New Class) เนื่องจาก มีคุณสมบัติทางกายภาพในทั้งในแง่ ความเหนียว(Toughness) , สามารถคืนสภาพตัวเองได้(Self-Healing) และ จะไม่ศูนย์เสียกำลังอย่างทันทีทันใด(Robustness)
  • การ จะเพิ่มกำลังวัสดุใหม่ชนิดนี้สามารถทำได้โดยการ เพิ่มปริมาณอนุภาคดิน หรือ เจลดูดน้ำ หรือ กาว หรือทั้งสามอย่าง แต่จะเป็นการเพิ่มน้ำหนัก และลดค่าความโปร่งแสงลง
ข้อมูลอ้างอิง วัสดุใหม่ พลาสติก ที่ผลิตจาก น้ำโคลน

  • http://www.newscientist.com/article/mg20527445.600-smart-mud-could-be-the-new-plastic.html

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความ wowboom

เพื่อนๆ wowboom