จิ้งจกน้ำเม็กซิกัน ( Mexican Axolotl )
จิ้งจกน้ำเม็กซิกัน ( Mexican Axolotl ) มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า " ACK-suh-LAH-tuhl " หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ซาราแมนเดอร์ ( salamander ) ตามรูปที่เห็นนี้ จิ้งจกน้ำเม็กซิกัน อยู่ในช่วงตัวอ่อน ซึ่งลักษณะเด่นของช่วงตัวอ่อนคือ ครีบระยางรอบคอ ที่ทำหน้าที่เป็นเหงือภายนอก สำหรับดูดออกซิเจนในน้ำของปลา
แห่งที่พบคือแหล่งน้ำที่ชื่อว่า Xochimilco ใกล้กับเมือง เม็กซิโกซิตี้ ( Mexico City ) จิ้งจกน้ำเม็กซิกัน ( Mexican Axolotl ) แตกต่างจาก ซาราแมนเดอร์ ( salamander ) อื่นๆ คือมันจะอาศัยอยู่ในน้ำตลอดชีวิต ซึ่งพบได้น้อยมากสำหรับ ซาราแมนเดอร์ ( salamander )
จิ้งจกน้ำเม็กซิกัน ( Mexican Axolotl ) เมื่อโตเต็มที่สามารถมีความยาวถึง 30 เซ็นติเมตร แต่ทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 15 เซ็นติเมตร และมีสีดำ และจุดสีน้ำตาล แต่ก็มีพวกสีเผือก จิ้งจกน้ำเม็กซิกัน ( Mexican Axolotl ) เมื่ออยู่ตามธรรมชาติมีอายุประมาณ 15 ปี พวกมันกิน พวกหอย หนอน ตัวอ่อนแมลง ลูกปลาซึ่งในสมัยก่อนจิ้งจกน้ำเม็กซิกัน ( Mexican Axolotl ) ถือว่าเป็นผู้ล่าอันดับต้นๆของห่วงโซ่อาหารในแหล่งน้ำทีเดียว แต่ปัจจุบันพวกมันถูกลุกลานจากปลาใหญ่ที่คนนำมาปล่อย หรือเพาะเลี้ยง และนกนักล่าจำพวกนกกระสา ( Heron )
เนื่องจากพวกมันเป็นที่นิยมทั้งในเม็กซิโกเอง และเป็นที่ต้องการของตลาดซื้อขายสัตว์น้ำทำให้มันถูกล่า และเป็นที่น่ากังวลว่าพวกมันอาดจะสูญพันธ์จากแหล่งน้ำในธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง
ฟอสซิล ซาลาแมนเดอร์ | ฟอสซิล ซาลาแมนเดอร์ นักโบราณคดีนำฟอสซิล Gerobatrachus hottoni หรือ "ฟร็อกกาแมนเดอร์" ที่มีอายุถึง 290 ล้านปีมาศึกษา พร้อมสันนิษฐานว่า อาจเป็นบรรพบุรุษของกบและซาลาแมนเดอร์ นายเจสัน แอนเดอร์สัน ( Jason Anderson ) จากมหาวิทยาลัยแคล แกรี่ ( University of Calgary )ประเทศแคนาดา ( Canada ) กล่าวว่า กบ ( Frog ) ซาลาแมนเดอร์ ( salamander ) และเขียดงู ( Ichthyophiidae ) ที่มีลักษณะคล้ายงู เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ไม่มีขา และที่สำคัญคือมีลำตัวเป็นป้อง มีพัฒนาการที่หายไป ซึ่งฟอสซิล Gerobatrachus hottoni อาจอุดช่องโหว่สำคัญดังกล่าว เป็นขั้นก่อนที่กบและซาลาแมนเดอร์จะพัฒนาอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน <<อ่านข้อมูลเพิ่มเติม>> |
ข้อเท็จจริงไม่น่าเชื่อ จิ้งจกน้ำเม็กซิกัน ( Mexican Axolotl )
- เป็นสัตว์ที่สามารถงอกอวัยวะที่ขาดได้ใหม่ไม่ว่าจะเป็น หาง หรือแม้แต่ แขน ขา หรืออวัยวะภายใน เช่นหัวใจ ปอด เป็นต้น จึ่งทำให้ัมันเป็นเป็นสัตว์ที่มีนักวิทยศาสตร์กำลังศึกษมมากที่สุดชนิดหนึ่ง
- คำว่าเทพเจ้าของแอ็สเท็ค ( Aztec god ) พระนามว่า Xolotl
- จิ้งจกน้ำเม็กซิกัน ( Mexican Axolotl ) ขับของเสียออกมาแต่ไม่ใช่ปัสสวะ แต่เป็นน้ำที่ผ่านเหงือ
- จิ้งจกน้ำเม็กซิกัน ( Mexican Axolotl ) ไม่มีเปลือกตา
ภาพ เมื่อตัดขาจิ้งจกน้ำเม็กซิกัน บริเวณใต้ข้อศอก มันจะงอกใหม่เรื่อยๆ จนเป็นรูป D จนงอกใหม่สมบูรณ์เป็นรูป E ทีนี้ตัดใหม่เหนือข้อศอก มันก็เริ่มงอกใหม่อีก
ข้อมูลหากท่านต้องการเลี้ยง จิ้งจกน้ำเม็กซิกัน ( Mexican Axolotl )
- อุณหภูมิน้ำ : 14 -20 องศาเซ็นเซียส
- ความยาก ง่ายในการเลี้ยง : ระดับกลาง
- ความดุ ร้ายกร้าวร้าว : ดุร้าย ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับสัตว์ที่ตัวเล็กกว่า (ตามรูปกำลังกินปลาทอง)
- แสงสว่าง : ไม่ต้องการ
- ขนาดถังเลี้ยง : เล็กสุดขนาด 15 Gallons
- อาหาร : เนื้อหัวใจวัว , ตับ , เนื้อสัตว์อื่นๆ , หนอน , ปลาเล็ก ( มันจะไม่กินอาหารที่ไม่ขยับ ต้องเอาไปแขว่งไกล้ๆปากไปมา )
- ระบบ Filtration System : ไม่ต้องการ แต่ถ้ามีก็ดี เนื่องจากพวกมันขับถ่ายของเสียออกมาทำให้ระบบแอมโมเนียในน้ำสูงขึ้นหากไม่มีก็ต้องเปลี่ยนน้ำทุกวัน
ข้อมูลอ้างอิง จิ้งจกน้ำเม็กซิกัน ( Mexican Axolotl )
http://www.petfish.net/articles/Amphibians/Axolotl.php
http://animals.nationalgeographic.com/animals/amphibians/axolotl.html
http://bioweb.uwlax.edu/bio203/s2008/osuldsen_brit/