ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หินเดินได้
ข้อมูลเกี่ยวกับเรซแทรค พลาย่า (Racetrack Playa)
เรซ แทรค พลาย่า เป็นแอ่งทะเลสาบที่ค่อนข้างราบและแห้งแล้ง มีความยาวในแนวเหนือ-ใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร และกว้างในแนวตะวันออก-ตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร มีลักษณะพื้นผิวเป็นระแหงโคลน (mud cracks) ส่วนมากประกอบด้วยตะกอนขนาดทรายแป้ง (silt) และดินเหนียว (clay)
สภาพ ภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มีปริมาณน้ำฝนเพียงสองนิ้วต่อปี แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนตก น้ำปริมาณมากจะไหลจากภูเขาสูงชันที่อยู่ล้อมรอบเรซแทรค พลาย่าลงมาปกคลุมพื้นที่แอ่งจนกลายเป็นทะเลสาบตื้น ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งขณะนั้นบริเวณพื้นแอ่งจะเต็มไปด้วยดินเหนียวที่เหลวและอ่อนนุ่ม
ปรากฏการณ์ ดินเดินได้ เกิดจากมนุษญ์ หรือ สัตว์ หรือไม่
จาก ลักษณะรูปร่างของร่องรอยการไถลของหินนั้นบ่งบอกได้ว่าหินก้อนนั้นต้อง เคลื่อนที่ในช่วงที่พื้นของเรซแทรค พลาย่านั้นถูกปกคลุมด้วยดินเหนียวอ่อนนุ่ม ถ้าเป็นฝีมือของคนหรือสัตว์จะต้องมีร่องรอยของการเหยียบย่ำรบกวนชั้นดิน เหนียวด้วย แต่ในบริเวณดังกล่าวไม่ปรากฏหลักฐานร่องรอยจากคนหรือสัตว์ที่จะช่วยให้หิน เคลื่อนที่เลย มีเพียงร่องรอยการไถลของหินเท่านั้น
จะเห็นว่า หินทุกก้อน ไม่มีร่องรอย ของการเข้าไปรบกวน หรือทำการเคลื่ยนย้ายโดยคน หรือสัตว์ เพราะไม่มี รอยเท้า และพื้นที่ก็กว้าง เกินกว่าจะใช้ไม้หรือวัตถุเขี่ยถึง
สมมุติฐานของ การเกิด ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หินเดินได้
- ทางสมมุติฐาน อ้างว่าเกิดจาก ลม ตัวการที่นิยมนำมาใช้อธิบายปรากฎการณ์นี้ก็คือ ลม โดยส่วนมากลมที่พัดผ่านบริเวณนี้จะมีทิศทางพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยัง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และร่องรอยการไถลของหินก็มีทิศทางขนาดกับทิศทางของลมนี้ด้วย แต่ ก็มีนักวิทยาศาสตร์บางคน ไ้ด้แย้งว่ากระแสลมใน เรซแทรค พลาย่า สามารถทำให้ เดินน้อยกว่า 5 เซ็นติเมตร และ ถ้าต้องการให้ ดินเดินได้เป็นระยะตามที่ปรากฏ จะต้องมีกระแสลมแรงกว่า 145 กิโลเมตร / ชั่วโมง
จะเห็นว่าหิน บางก้อนไม่ได้เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรง ตามกระแสลมเสมอไป แต่นั้นก็อาดจากการที่กระแสลมเปลี่ยนทิศก็เป็นไปได้
หินบางก้อนมีขนาดใหญ่กว่า 100 กิโลกรัม ก็ยังสามารถเคลื่อนที่ได้
- บางสมมุติฐาน อ้างว่าเกิดจาก น้ำแข็ง คนกลุ่มหนึ่งให้ข้อมูลว่าเคยเห็นเรซแทรค พลาย่าถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งชั้นบางๆ แนวคิดหนึ่งอธิบายว่าเมื่อน้ำรอบก้อนหินแข็งตัวและแต่ต่อมามีลมพัดผ่านผิว ด้านบนของน้ำแข็ง ทำให้แผ่นน้ำแข็งได้ลากก้อนหินนั้นไปด้วย จึงเกิดรอยครูดไถลบนพื้นผิวแอ่ง นักวิจัยบางคนพบร่องรอยไถลของหินหลายก้อนที่สอดคล้องกับแนวคิดนี้ด้วย แต่ อย่างไรก็ตามการเคลื่อนย้ายแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่นั้นคาดว่าจะต้องมีการ ทิ้งร่องรอยบนพื้นผิวแอ่งในทิศทางอื่นๆ ด้วย แต่ก็ยังไม่พบร่องรอยนั้น
และนั้นจึงทำให้มันยังคง เป็น ปริศนา ที่ต้องมีการศึกษาและ หาคำตอบกันอีก ต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้องกับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ข้อมูลอ้างอิง ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หินเดินได้
- http://en.wikipedia.org/wiki/Sailing_stones
- http://geothai.net/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=73:2009-01-27-19-33-56&catid=56:rocks&Itemid=100006