แผนที่ภาระกิจ สำรวจระบบสุริยะจักรวาล
Space Exploration การสำรวจอวกาศ สำหรับมนุษย์ชาตินั้นพึ่งเริ่มมาเพียง 50 กว่าปี หลังจากความสำเร็จของภาระกิจ สปุตนิก 1(Sputnik 1) ในปี 1957 นับว่าสั้นนักหากเปรียญเทียบกับอายุขัยของ จักรวาล (เพียงลำพังอายุของ ดวงอาทิตย์ก็มากกว่า 4.6 พันล้านปี)
50 ปี แห่งภาระกิจสำรวจระบบสุริยะจักรวาล ของมนุษย์ชาิติ
ภาพข้างต้น อาจจะดูแปลกตา มาดูกันว่ามันมีความหมายอย่างไรขออภิบายคร่าวๆ ดังนี้
1. จากภาพ วงกลมสีฟ้า ที่เป็นศูนย์กลางของ ริ้วเส้นเส้นสายจำนวนมาก คือ โลก(Earth)
2. เส้นสายจำนวนมาก แทน จำนวนภาระกิจที่ยานสำรวจอวกาศ ที่ถูกส่งจากโลกไปสำรวจ ดวงดาวต่างในระบบสุริยะจักรวาลของเรา ดังต่อไปนี้
- ดวงอาทิตย์(Sun) มีภาระกิจสำรวจ 9 ภาระกิจ
- ดาวพุธ(Mercury) มีภาระกิจสำรวจ 2 ภาระกิจ
- ดาวศุกร์(Venus) มีภาระกิจสำรวจ 43 ภาระกิจ
- ดวงจันทร์(Moon) มีภาระกิจสำรวจ 73 ภาระกิจ
- ดาวอังคาร(Mars) มีภาระกิจสำรวจ 40 ภาระกิจ
- ดาวพฤหัสบดี(Jupiter) มีภาระกิจสำรวจ 9 ภาระกิจ
- ดาวเสาร์(Saturn) มีภาระกิจสำรวจ 5 ภาระกิจ
- ดาวยูเรนัส( Uranus ) มีภาระกิจสำรวจ 1 ภาระกิจ
- ดาวเนปจูน( Neptune ) มีภาระกิจสำรวจ 1 ภาระกิจ
- อุกกาบาต(Asteroid) และดาวหาง(Comet) มีภาระกิจสำรวจ 14 ภาระกิจ
- New Horizon ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2006 มีเส้นทางจากโลก เข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสบดี แล้วเดินทางผ่านดาวเสาร์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2008 และคาดว่าจะถึงดาวพลูโต ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2015
- Pioneer 11 ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 6 เมษายน 1973 มีเส้นทางจากโลก ผ่านดาวอังคาร ผ่านดาวพฤหัสบดี และออกจากระบบสุริยะจักรวาลไป เมื่ออยู่ระหว่างดาวพฤหัสบดี กับดาวเสาร์ ยานไพโอเนียร์11 ยังค้นพบ วงแหวนดาวเสาร์เพิ่มเติมจากเดิม
- Voyager2 ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1977 มีเส้นทางผ่านดาวในระบบสุริยะจักรวาลทุดดวง และเป็นยานสำรวจอวกาศ ลำแรกที่มาถึง ดาวยูเ้รนัส และดาวเนปจูน
- Pioneer 10 ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 1972
- Voyager1 ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 6 กันยายน 1977 และนับเป็นยานสำรวจอวกาศที่อยู่ไกลจากโ ลกมากที่สุดขณะนี้คือมีระยะทางกว่า 10 พันล้านไมล์
- ความหมาย แผ่นจารึกเพื่อการสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตผู้ทรงภูมิความรู้ ที่ ติดไปกับยานสำรวจอวกาศ
- ดาวเทียมดวงแรกของโลก
- คนแรก ตัวแรก ที่ถูกส่งไปในอวกาศครั้งแรกในโลก
- สถานที่หนาวเย็นที่สุดในอวกาศ
- การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ในสภาพเสมือนไร้แรงดึงดูด