มาตรฐาน ถังดับเพลิง ( Classification of Fire Extinguisher )
มาตรฐาน ถังดับเพลิง เคมีแห้ง ที่จำหน่ายในประเทศไทยต้องได้รับมาตรฐาน มอก.332-2537 โดยมาตรฐานนี้ทาง มอก. ได้อ้างอิงเกี่ยวกับระยะเวลาการฉีดใช้ และคุณลักษณะที่ต้องการอื่นๆ มาจาก AS 1846-1984 ส่วนวิธีทดสอบอ้างอิงจาก ANSI/UL 711-1979 และ BS 5423-1980 โดยมาตรฐานโดยระเอียดสามารถ อ่านได้จาก มอก.มอก.332-2537 ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงสังเขป เพื่อสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะทำการซื้อ ถังดับเพลิง ผงเคมีแห้ง ไว้เป็นความรู้
ส่วนประกอบต่างๆ ถังดับเพลิง
ถังดับเพลิง เคมีแห้ง แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
มาตรฐาน ถังดับเพลิง ด้าน สารดับเพลิง และสายฉีด
ข้อมูลอ้างอิง
- ถังดับเพลิง แบบ อัดความดัน คือ ถังดับเพลิงที่สารดับเพลิง ถูกขับออกมาด้วยก๊าซเฉือย ที่อัดอยู่ภายในถัง ข้อดี ราคาถูก ข้อเสีย อายุการใช้งานสั้นต้องคอยตรวจสอบความดันให้อยู่ในสภาวะพร้อมใช้งานเสมอ
- ถังดับเพลิง แบบ มีท่ออัดก๊าซ คือ ถังดับเพลิงที่สารดับเพลิง ถูกขับออกมาด้วยท่ออัดก๊าซ โดยท่ออัดก๊าซอาดอยู่ภายในถัง หรือภายนอกถังก็ได้ ข้อดี ดูแลรักษาง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาด้านแรงดัน ข้อเสีย ราคาแพง ในประเทศไทยไม่มีผลิต
- ทำจากวัสดุที่เหมาะสม ไม่ทำปฎิกริยากับสารดับเพลิง และสามารถทนแรงดันได้
- สามารถทนแรงดันได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของแรงดันใช้งาน และไม่น้อยกว่า 2.4 MPa เป็นเวลา 5 นาที โดยไม่รั่วซึม หรือเสียรูป
- สามารถทนแรงดันได้ไม่น้อยกว่า 4 เท่าของแรงดันใช้งาน และไม่น้อยกว่า 3.5 MPa โดยไม่แตก ร้าว
- ความหนาของตัวถังดับเพลิง ไม่น้อยกว่า 0.6 หรือ คำนวนจากสูตร 2.45 D/T เมื่อ D คือเส้นผ่าศูนย์กลางภายในถังเป็นมิลิเมตร และ T เป็น ความต้านทานแรงดึงของวัสดุถัง เป็น MPa
- ถ้าถังดับเพลิง เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 100 มิลิเมตร ก้นถังต้องโค้งออกเพื่อเป็นฐานตั้ง
- ถังต้องทาด้วยสีแดง ถายในเคลื่อบด้วยสารที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารดับเพลิง และก๊าซขับดัน เช่นแลกเกอร์
มาตรฐาน ถังดับเพลิง ด้าน สารดับเพลิง และสายฉีด
- น้ำหนักผงเคมีแห้งที่บรรจุ ไม่น้อยกว่า 1 กิโลกรัม และไม่มากกว่า 14 กิโลกรัม
- ถังดับเพลิงต้องสามารถฉีดสารดับเพลิงออกมาได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ของน้ำหนักสารดับเพลิง
- สายฉีดต้องทนแรงดันได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของแรงดันใช้งาน
- สายฉีดต้องยาวไม่เกินกว่า 1 เมตร
- สายฉีดเมื่อปล่อยแล้วจะต้องลอยสูงจากก้นถังไม่น้อยกว่า 10 มิลิเมตร
ข้อมูลอ้างอิง