ไดโนเสาร์ เป็น สัตว์เลือดอุ่น
มีความเชื่อว่า ไดโนเสาร์ นั้นเป็นสัตว์เลือดเย็น แต่จากการศึกษาล่าสุดค้นพบว่า ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ นั้น มีอุณหภูมิร่างกาย ใกล้เคียง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม(Mammals) หรือ นก
รายละเอียด
- กิ้งก่า งู และ จระเข้ ล้วนเป็นสัตว์เลือดเย็น ทำให้อุณหภูมิร่างกายของพวกมัน จะสูงขึ้น หรือต่ำลงตามสภาพแวดล้อม
- เหมือนสัตว์เลื้อยคลาน ในปัจจุบัน ที่พวกมันจะเคลื่อนไหวช้าลงเมื่ออุณหภูมิร่างกายต่ำลง และจะกระฉับกะเชิงขึ้นเมื่อ อุณหภูมิร่างกายอุ่นขึ้น
- นักวิจัยทำการวิเคราะห์ ฟัน 11 ซี่ ของ ไดโนเสาร์ Brachiosaurus และ ไดโนเสาร์ Camarasurus
- จาก รูปแบบการฟอร์มตัวของแร่ธาตุบนเคลือบฟัน ที่เป็นผลมาจากอุณหภูมิ โดยการวัดความสัมพันธ์ระหว่างระดับของ คาร์บอน กับ ออกซิเจนไอโซโทรป ความแตกต่างกันของรูปแบบธาตุชนิดเดียวกันบนเคลือบฟันบนช่วงเวลาที่ต่างกัน ทำให้นักวิจัยทราบว่าไดโนเสาร์นั้นมีอุณภูมิร่างกายค่อนข้างคงที่ มีขึ้นลงบ้างประมาณ 1 ถึง 2 องศาเซลเซียส เท่านั้น(ซึ่งถ้าเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิร่างกายจะมีการขึ้นลงมากกว่านี้มาก) ด้วยวิธีนี้ทำให้เราทราบอุณหภูมิร่างกาย ของสัตว์ที่สูญพันธ์ไปแล้วกว่า 150 ล้านปีได้
- ในไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ อย่าง Sauropod มักจะมีความร้อนสะสมในร่างกาย เนื่องจากมีร่างกายใหญ่ เนื้อ และผิวหนังที่หนาจะเสมือนเป็นฉนวนความร้อนห่อหุ้มร่างกาย ทำให้เกิดความร้อนสะสมภายในร่างกาย(เหมือนการห่มผ้านวมหนาๆหลายๆชั้นย่อมทำให้ร่างกายร้อนขึ้น)
- แต่ปริศนานั้นก็ยังไม่คลี่คลายทั้งหมด เนื่องจาก ในเมื่อค้นพบขบวนการที่ไดโนเสาร์ทำให้ร่างกายร้อนแล้ว แต่ยังไม่ค้นพบขบวนการที่พวกมันควบคุมให้อุณหภูมิลดลง(เพราะถ้าร้อนขึ้นอย่างเดียวภายในของไดโนเสาร์คงร้อนจนสุก)
- ร่างกายลดลง บางทีอาจจะใช้ขบวนการลดอัตราการย่อยอาหาร(Metabolic) หรือ ใช้การกระจายความร้อนโดยใช้ลมที่พัดผ่านร่างกาย
- ด้วยวิธีข้างต้นทำให้นักวิจัยพบว่าไดโนเสาร์ Brachiosaurus นั้นมีอุณหภูมิร่างกายประมาณ 38.2 องศาเซลเซียส และไดโนเสาร์ Camarasaurus มีอุณหภูมิร่างกายประมาณ 35.7 องศาเซลเซียส
- ตอนนี้นักวิจัยก็เหลือเพียงการวิเคราะห์ ไดโนเสาร์ ขนาดเล็กที่ไม่มีความร้อนสะสมในร่างกายเหมือนไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ ถ้าพบว่าพวกมันมีอุณหภูมิร่างกายสูง ก็จะสามารถชี้ชัดไปได้ว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลือดอุ่น
- http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-2007613/Dinosaurs-hot-blooded-creatures-claim-scientists-measured-body-temperatures-time.html