ลานกระเบื้องธรรมชาติ
Tessellated pavement ลานกระเบื้องแห่งเกาะแทสเมเนีย นี้หากมองผ่านอาจจจะคิดว่าคงเป็นลาน ที่ถูกปูด้วยบล็อกปูถนน แผ่นใหญ่ๆ หรือ ลานคอนกรีตที่มีการตีตารางไว้ แต่ สถานที่แห่งนี้สร้างสรรค์โดย ธรรมชาติ 100%
รายละเอียด
- Tessellated pavement เป็น รูปแบบหนึ่งของการกัดกร่อนของหินตะกอน(sedimentary rock) ที่พบได้ยากยิ่ง สามารถพบได้เพียงบนชายฝั่งในมหาสมุทรบางแห่งเท่านั้น
- รอยแตก ที่เห็นเป็นสันมีลักษณะเป็นแนวตรงนั้น ก่อตัวขึ้นเมื่อเกิดแรงเค้นในเปลือกโลก(stress on the Earth's crust) ซึ่งต่อมาก็ถูกแรงจากคลื่น และการเสียดสีของเม็ดทราย ไปมาอย่างต่อเนื่อง
- การเกิด Tessellated pavement นั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบกระทะ(Pan formation) กับ รูปแบบเป็นก้อนขนนปัง(loaf formation)
- หนึ่งในตัวอย่างการเกิด Tessellated pavement ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือที่ Eaglehawk Neck บนเกาะแทสเมเนีย ในคาบสมุทรแทสแมน(Tasman Peninsula) ปล.ภาพจั่วหัวคือที่ ลานกระเบื้อง แห่ง แทสเมเนีย
รูปแบบกระทะ จะเกิดขึ้นในบริเวณริมชายฝั่ง บริเวณที่มีน้ำขึ้นน้ำลง เมื่อน้ำลงน้ำทะเลจะขังในร่องเมื่อแห้งจะเกิดเป็นผลึกเกลือสะสมในร่อง(บริเวณที่มีผลึกเกลือก่อตัวจะมีผลึกเกลือมาเกาะได้ง่ายยิ่งขึ้น) นานวันเข้าผลึกจะก่อตัวจนเป็นสันขอบ ทำให้บริเวณที่ไม่มีสันปิดอยู่เกิดการสึกกร่อนได้รวดเร็วกว่า บริเวณที่มีสันจนก่อเป็น แอ่งกระทะ
รูปแบบก้อนขนนปัง จะเกิดขึ้นในส่วนที่ติดทะเล เมื่อแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานน้ำจะพัดพาทราย เข้ารู้บริเวณรอยแยกขัดถูนานวันเข้า ทำให้เกิดเป็นร่องลึก
ข้อมูลอ้างอิง
- http://martybugs.net/blog/blog.cgi/photos/nature/TessellatedPavement.html
- http://en.wikipedia.org/wiki/Tessellated_pavement
- http://www.panoramio.com/photo/582203