มะเร็งเก่าแก่
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการค้นพบนี้จะเป็น เคสมะเร็งที่เก่าแก่เกือบที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์เท่าที่มีการค้นพบในปัจจุบัน
รายละเอียด
- ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากเคสนี้คือ มัมมี่ ที่นอนสงบนิ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ National Archaeology Museum ในกรุงลิสบอน(Lisbon)
- มัมมี่ เป็นมัมมี่ที่ไม่ทราบชื่อผู้ตาย จึงถูกเรียกว่ามัมมี M1 แทนชื่อ เป็นมัมมี่ในยุค Ptolemaic ที่มีอายุ 2,250 ปี
- มัมมี่นี้ถูกฝังในท่ามือไขว้กันเป็นกากบาท ซึ่งเป็นท่วงท่าสำหรับมัมมี่ในยุค Ptolemaic จนถึงช่วงยุค New Kingdom สำหรับบุคคลที่มีความเชื่อมโยงกับราชวงศ์
- คาดว่ามัมมี่นี้ตอนมีชีวิตคงอยู่ในช่วง 230-285 ปีก่อนคริสตกาล และคาดว่าจะมีอายุอยู่ระหว่าง 51-60 ปีก่อนเสียชีวิต มีความสูงประมาณ 5 ฟุต 5 นิ้ว
- มัมมี่เอ็มวันถูกประดับประดาด้วยหน้ากาก cartonnage(เป็นวัสดุที่ทำจากผ้าลินนินหรือปาปูรัสปิดทับด้วยปูนพาสเตอร์) และผ้าผูกคอ ที่มีการเขียนลวดลายอย่างวิจิต
- จากการสแกนร่างมัมมี่ทำให้พบก้อนเนื้องอกมีลักษณะเป็นลำแข็ง อยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง(Spine) กับ กระดูกเชิงกราน(Pelvis) และยังแสดงให้เห็นว่าเขาตายอย่างช้าๆและเจ็บปวดจากอาการป่วย
- การค้นพบมะเร็งต่อมลูกหมากในมัมมี่เอ็มวัน ถือว่าเป็นการค้นพบการป่วยด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากในกลุ่มชนอียิปต์โบราณที่เก่าแก่ที่สุด และถือว่าเก่าแก่เป็นอันดับทีสองของโลก เป็นรองก็แต่เพียงเคสของโครงกระดูกกษัตริย์ไซเธียนที่มีอายุเก่าแก่ถึง 2700 ปีเท่านั้น
- การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่ามะเร็งนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ที่ค้นพบน้อยเนื่องจากขาดตัวอย่าง หรือในสมัยก่อนมีสารก่อมะเร็งไม่มากเหมือนสมัยนี้ หรืออาจจะเป็นเพราะคนสมัยก่อนมีอายุขัยย์สั้นทำให้โรคมะเร็งที่เป็นโรคที่มีอายุฟักตัวนานไม่ค่อยพบ
http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-2057026/Prostate-cancer-2-000-year-old-Egyptian-mummy.html