เล่นไวโอลิน ไปในขณะผ่าตัดสมองไป
ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องราวในภาพยนตร์ Hollywood ว่ามนุษย์จะสามารถเล่นไวโอลิน ทั้งที่แพทย์กำลังผ่าตัดสมองอยู่ แต่มันก็เป็นเรื่องจริง
รายละิเอียด
- นาย โรเจอร์ ฟริสช์( Roger Frisch ) นักไวโอลินฝีมือเยี่ยม เกิดป่วยมีอาการมือสั่นเทา จากการที่สมองส่งสัญญาณผิดปกติออกมา
- เมื่อแพทย์ได้ทำการวินิจฉัย และพบว่าสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว เริ่มส่งสัญญาณออกมาไม่ปกติ เนื่องจากโรเจอร์ป่วยด้วย โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremors มีชื่อย่อว่า ET)
- ทำให้ โรเจอร์ ต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการดังกล่าวหากเขาต้องการจะเล่นไวโอลินต่อไป
- การผ่าตัดนี้อาจจจะฟังประหลาด ซักหน่อย คือ โรเจอร์ต้องได้รับการผ่าตัดไปพร้อมๆ กับ ต้องเล่นไวโอลินไปด้วย แน่นอนคณะแพทย์คงไม่ขอเช่นนี้เพราะอยากฟัง เสียงไวโอลิน ขณะผ่าตัดเพื่อคลายเครียด
- สาเหตุที่แพทย์ต้องให้ โรเจอร์เล่นไวโอลินขณะทำการผ่าตัด นั้นเป็นผลมาจาก ทุกตัวโน๊ตที่โรเจอร์ทำสีไวโอลินนั้น ทำให้แพทย์ทราบว่า สัญญาณพัลส์ไฟฟ้า(Electronic Pulses คือ สัญญาณไฟ้ฟ้า ที่ถูกปล่อยออกมาในลักษณะ ปิด-เปิด เป็นจังหวะ) ที่ใช้ในการรักษาอาการที่ส่งเข้าสู่สมองนั้นเหมาะสมกับ การรักษาอาการป่วย ของ โรเจอร์หรือไม่
- โดยชาวอเมริกันกว่า 10 ล้านคน ป่วยด้วยอาการป่วย ET นี้ (ข้อมูลจาก International Essential Tremor Foundation) โดยอาการที่พบบ่อย คือ อาการสั่นของมือ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยประสบปัญหาในการดื่มน้ำ กินข้าว แต่สำหรับโรเจอร์ อาการเกิดขึ้นกับมือขวา ทำให้เขาไม่สามารถควบคุม คันชักได้ดั่งใจอีกต่อไป
- ในขณะที่สาเหตุของโรค ET นี้ยังไม่ทราบแน่นอน ทั้งด้วยการสแกนสมองด้วย MRI และ CAT ก็ไม่สามารถตรวจพบอาการของโรค การวินิจฉัยจะทราบเมื่อเกิดอาการสั่นของร่างกาย
- ในเคสของโรเจอร์เมื่อการรักษาด้วยยา ไม่เป็นผล Dr. Kendall Lee ผู้จักการของห้องทดลองวิศวกรรมของคลินิกเมโย(the Mayo Clinic Neural Engineering Laboratory) จึงหันไปใช้วิธีรักษาโดย การกระตุ้นสมองส่วนลึก(deep brain stimulation)
- การผ่าตัดจะทำการฝังตัว อิเล็กโทรด ที่สามารถส่งสัญญาณพัลส์ไฟฟ้าที่เหมาะสม กับ สมองเฉพาะส่วนที่ส่งสัญญาณผิดพลาด
- ด็อกเตอร์ลี และทีมผ่าตัดพบ บริเวณสมองของโรเจอร์ที่ส่งสัญญาณติดปกติ จึงได้ทำการฝังอิเล็กโทรดเข้าไปในสมองของ โรเจอร์ 2 อัน
- การที่ โรเจอร์สามารถผ่าตัดสมองไปพร้อมๆ กับเล่น ไวโอลินได้นั้น เนื่องมาจากสมองไม่มีประสาทรับรู้ความรู้สึก เขาจึงไม่เจ็บปวดขณะทำการผ่าตัด
- http://abcnews.go.com/WN/WorldNews/cutting-edge-treating-tremors-deep-brain-stimulation/story?id=10138705