หมีน้ำ สัตว์ทรหดเข้าขั้น กึ่งอมตะ
Tardigrades หรือที่รู้จักกันในชื่อ หมีน้ำ( Water Bear ) เป็นสัตว์ขนาดเล็กเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 1.5 มิิลลิเมตร มีแปดขา ที่สามารถพบได้ทั่วไปทั่วโลก และสามารถดำรงณ์ชีวิตได้เกือบทุกสถาวะ จนเข้าขั้นกึ่งอมตะ
ข้อมูลทั่วไปของ หมีน้ำ
- หมีน้ำถูกค้นพบครั้งแรกโดย Johann August Ephraim Goeze ในปี 1773
- คำว่า Tardigrades มีความหมายว่า เจ้าตัวเดินช้า( Slow Walker )
- ส่วนชื่อ หมีน้ำ ( Water Bear ) นั้นมาจากท่าทางการเดินของพวกมัน
- เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเพียง 1.5 มิลลิเมตร ส่วนตัวที่เล็กที่สุดมีขนาดเพียง 0.1 มิลลิเมตร ส่วนในช่วงตัวอ่อนมีขนาดเพียง 0.05 มิลลิเมตร
- หมีน้ำมีมากกว่า 1000 สายพันธุ์ โดยมากเป็นพวกกินพืช ส่วนน้อยกินแบคทีเรีย และกินสัตว์
- หมีน้ำสามารถพบได้ทั่วโลก ตั้งแต่ที่ยอดเขาหิมาลัย(Himalayas) ที่ความสูงกว่า 6,000 เมตร จนถึงในทะเลลึกถึง 4,000 เมตร ไม่ว่าจะเป็นที่ขั้วโลก หรือในบริเวณเส้นศูนย์สูตร
- หมีน้ำชอบอาสัยอยู่ที่ต้นมอส และพวกเห็ด รา ต่างๆ แต่ยังสามารถพบได้ตาม ทราย ชายหาด ดิน แร่ธาตุ และในตะกอนน้ำ
- ร่างกาย เป็นท่อน 4 ท่อน(ไม่รวมส่วนหัว) ในแต่ละท่อนมี 2 ขา ในแต่ละขามีเล็บ
- หมีน้ำสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า -272.8°C (ได้ประมาณ 1 นาที ) และที่ -200°C ( อยู่ได้ประมาร 1 วัน )
- หมีน้ำสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 151 °C
- สามารถทนรังสีได้มากกว่ามนุษย์ถึง 1,000 เท่า
- เมื่อปราศจากน้ำพวกมันจะอยู่ในสภาพจำศีลได้กว่า 100 ปี และเมื่อได้รับน้ำพวกมันสามารถฟื้นคืนชีพขึ้นได้อีกครั้ง
- สามารถอยู่ได้ในสภาพนอกโลก( ในปี 2007 หมีน้ำถูกน้ำนำไปทดสอบในโครงการ FOTON-M3 โดยน้ำไปโคจรในอวกาศถึง 10 วัน เมื่อนำพวกมันกลับมายังโลกพบว่าพวกมันส่วนใหญ่สามารถรอดชีวิต ทั้งยังมีบางตัววางไข่ ออกลูกได้ ต่างหาก )
ภาพนี้เมื่อพวกมันถูกแช่แข็ง พวกมันก็จะอยู่ในสภาพเหมือนจำศีล เมื่อละลายพวกมันพวกมันก็จะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง
บทความดีๆ เกี่ยวกับสัตว์ แปลกๆ
- ไขขนตา สิ่งมีชีวิตจำพวก ปรสิต ที่อาศัยอยู่ในรูขุมขนของ มนุษย์
- ปลาหัวใส ปลาน้ำลึกพันธุ์ใหม่ ที่พิลึกจนคุณคาดไม่ถึง
- หนอนมรณะมองโกล สิ่งมีชีิวิต ที่อยู่ระหว่างสัตว์ในตำนาน กับ ความเป็นจริง
- หอยจู๋ สิ่งมีชีวิตประหลาด (ที่รูปร่างหน้าตากึ่งอนาจาร กันทีเดียว)
- เจ้าตัวสูบเลือดแพะ ( 1 ในเรื่องโคตรลวงทางวิทยาศาสตร์ )
- http://en.wikipedia.org/wiki/Tardigrade
- http://tardigrades.bio.unc.edu/
- http://www.marsanomalyresearch.com/evidence-reports/2004/078/mars-organism-survivor.htm