มหาพีระมิดกิซ่า ( Great Pyramid of Giza )
Great Pyramid of Giza มหาพีระมิด แห่ง กิซ่า หรือที่เรียกว่า พีระมิดคูฟู ( Pyramid of Khufu ) เป็นพีระมิดที่เก่าที่สุด และใหญ่ที่สุดใน สามพีระมิด ในบริเวณ มหาสุสานกิซ่า ( Giza Necropolis ) อยู่ทางตะวันตกของ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อสร้างด้วยหินปูนมากว่า 2.5 ล้านก้อน โดยแต่ละก้อนมีน้ำหนัก 2 ถึง 70 ตัน และด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ พีระมิดกิซ่า เป็นเพียงหนึ่งเดียว ของ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ยุคโบราณ ที่ยังตั้งตะง่านอยู่ถึงปัจจุบันที่ยากจะหา สิ่งก่อสร้างอื่นใดมาเทียบเคียงได้
ข้อมูลเฉพาะของ มหาพีระมิด แห่ง กิซ่า
- ฐานของพีระมิดตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 13 เอเคอร์ ( ประมาณพื้นที่สนามฟุตบอล 7.3 สนาม )
- ตัวพีระมิดมีปริมาตรกว่า 8.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ( เทียบได้กับ ตึกเอ็มไพร์สเตท 30 ตึก )
- พีระมิดกิซ่าสูง 138 เมตร ( เทียบได้กับตึกสูง 48 ชั้นในปัจจุบันนี้ )
- พีระมิดกิซ่าประกอบไปด้วยหินเรียงเป็นชั้น 203 ชั้นในปัจจุบัน
- พีระมิดกิซ่าก่อสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยม เอียงทำมุมประมาณ 51 อาศา 51 ลิปดา สี่ด้านมาประกบกัน โดยแต่ละด้านมีพื้นที่ผิวประมาณ 2.2 หมื่นตารางเมตร
- ความแม่นยำในการจัดเรียงหินแต่ละก้อนมีความแม่นยำถึง 1 ใน 127 ส่วนของเซ็นติเมตร
- สารที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างหินแต่ละก้อน มีคุณภาพ ความแข็งแกร่ง และคุณสมบัติทางเคมี เทียบเทียบเท่าซีเมนต์ในปัจจุบัน
- พีระมิดกิซ่าสร้างก่อนคริสตกาลกว่า 2560 ปี ในรัชสมัยของฟาโรห์ อันดับที่ 4 ของราชวงศ์อียิปต์ ที่มีพระนามว่าฟาโรห์คูฟู
- ใช้เวลาก่อสร้าง 20 ปีจึงแล้วเสร็จ
รูปผิวภายนอกของ พีระมิดในยุคที่สร้างเสร็จตอนแรกจะมีการตกแต่งด้วยหินเรียบผิวเรียบทั่วทั้งพีระมิด แต่ปัจจุบัน ถ้าชำรุดไปเกือบหมด จะเหลือแค่บริเวณฐาน และบริเวณส่วนบนของพีระมิดเท่านั้น หินที่ใช้ตกแต่งภายนอกนั้นก้อนที่ใหญ่ที่สุดที่วัดได้มีขนาด กว้าง 2.4 เมตร สูง 1.5 เมตร หนักว่า 14 ตัน
ในอาณาบริเวณของ มหาพีระมิดแห่งกิซ่า ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
- มหาพีระมิดแห่งกิซ่า เป็นที่ฝังพระศพของฟาโรห์คูฟู เป็นพีระมิดที่ใหญ่ และเก่าแก่ที่สุด
- พีระมิดคีเฟรน ( Kephren) เป็นพีระมิดของบุตรชาย ของฟาโรห์คูฟู ผู้สือต่อราชบัลลังค์ต่อจากบิดา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาพีระมิด เล็กกว่ามหาพีระมิดเล็กน้อย คือสูง 140 เมตร บนยอดพีระมิดนี้มีลักษณะเด่นเนื่องจากก่อสร้างด้วยหินปูนขาว
- พีระมิดไมซีรีนัส ( Mykerionos ) เป็นพีระมิดของหลานชายของ ฟาโรห์คูฟู ผู้สืบต่อราชบัลลังค์ต่อจาก ฟาโรห์คีเฟรน เป็นพีระมิดที่เล็กที่สุดในบรรดาทั้งสามแห่ง สูงเพียง 70 เมตร
- สฟิงซ์ ( Sphinx ) ซึ่งแกะสลักด้วยหินก้อนใหญ่เป็นรูปสิงโตหมอบ แต่ศีรษะเป็นมนุษย์ส่วนใบหน้านี้เป็น ใบหน้าของพระเจ้าคีเฟรน ซึ่งได้รับการนับถือพระเจ้าแห่งพระอาทิตย์ สฟิงซ์นี้สูงถึง 18 เมตร ยาว 73 เมตร หมอบเฝ้าทางที่พามุ่งตรงไปยังพีระมิดแห่งคีเฟรน
- ทำไมยอดของมหาพีระมิดแห่งกิซ่า จึงเป็นยอดตัดเรียบมีพื้นที่ประมาณ 2.7 ตารางเมตร มันไม่เคยมียอดมาก่อน หรือว่ามันหายไปได้อย่างไร ?
- วิธีการก่อสร้าง มหาพีระมิด ในสมัย 2560 ปีก่อนคริสตกาล ( หรือกว่า 4500 ปีมาแล้ว ) ซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์ยังไม่รู้จักปั้นจั่น หรือแม้กระทั่งล้อ มนุษย์สามารถเคลื่อนย้ายหินที่หนักว่า 2 ถึง 60 ตัน ไประยะทางไกลจากเหมืองหิน หรือยกขึ้นที่สูงกว่า 100 เมตรได้อย่างไร
- ห้องลับหลังช่องระบายอากาศภายในห้องโถงแห่งราชีนี มีอะไรอยู่
แผนผัง ภายในมหาพีระมิด แห่ง กิซ่า
รูป ร่างของแนวคิดของประตูกล ที่ำทำจากหินรูปสามเหลี่ยม ทีไม่สามารถผยักเข้ามาได้ แต่สามารถผลักออกจากด้านในด้วยแรงเพียง 25 กิโลกรัม ซึ่งมันต้องได้รับการออกแบบโดย ฟิสิกร์ชั้นสูง และด้านหลังประตูหินจะเป็นประตูไม้เพื่อกันทรายที่พัดเข้ามา
2 Entrance to Al Mamoun's forced passage
ทางเข้ามหา พีระมิด ที่ถูกขุดเจาะโดยคณะสำรวจของ สุลต่าน แอล มามูน ( Caliph Al Mamoun ) เมื่อปี ค.ศ. 820 โดยทางเข้านี้ถูกเจาะห่างจาก ทางเข้าจริง ไปทางซ้าย เป็นระยะ 7.29 เมตร และต่ำลงมาจากทางเข้าจริง 16.76 เมตร ( หรือถ้าเทียบเป็นจำนวนชั้นของหิน 13 ก้อน )
1 The original Entrance
ทางเข้าที่แท้จริง (แต่ถูกซ่อนไว้) โดยก่อสร้างเป็นประตูกลเป็นหินรูปสามเหลียมโดยมีน้ำหนักที่สมดุลย์กันที่จุดหมุน โดยถ้าหากมีผู้บุกรุกจากภายนอก ใช้แรงดันเข้าดังลูกศรสีแดง จะไม่สามารถดันเข้ามาได้ เนื่องจากประตูกลจะไปดันกับเพดานทำให้ไม่สามารถดันเข้ามาได้ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเป็นฟาโรห์คูฟู ดันออกมาจากภายในกับใช้แรงเพียง 25 กิโลกรัม ส่วนด้านหลังเป็นประตูไม้นำ้หนักเบา มีไว้เพื่อป้องกันทรายพัดเข้ามาภายใน
รูป ร่างของแนวคิดของประตูกล ที่ำทำจากหินรูปสามเหลี่ยม ทีไม่สามารถผยักเข้ามาได้ แต่สามารถผลักออกจากด้านในด้วยแรงเพียง 25 กิโลกรัม ซึ่งมันต้องได้รับการออกแบบโดย ฟิสิกร์ชั้นสูง และด้านหลังประตูหินจะเป็นประตูไม้เพื่อกันทรายที่พัดเข้ามา
2 Entrance to Al Mamoun's forced passage
ทางเข้ามหา พีระมิด ที่ถูกขุดเจาะโดยคณะสำรวจของ สุลต่าน แอล มามูน ( Caliph Al Mamoun ) เมื่อปี ค.ศ. 820 โดยทางเข้านี้ถูกเจาะห่างจาก ทางเข้าจริง ไปทางซ้าย เป็นระยะ 7.29 เมตร และต่ำลงมาจากทางเข้าจริง 16.76 เมตร ( หรือถ้าเทียบเป็นจำนวนชั้นของหิน 13 ก้อน )
รูปซ้าย จะเห็นทางเข้าที่แท้จริงมีทับหลังสมาเหลี่ยมขนาอใหญ่ที่อยู่ ส่วนทางเข้าที่ขุดเจาะโดย สุลต่าน แอล มามูน คือช่องที่เห็นเป็นสีดำที่มุมล่างขวามือ
รูปขวา เป็น ปากทางทางเข้าของ สุลต่าน แอล มามูน
3 Al Mamoun's forced passage
อุโมงค์ทางเดินของ แอล มามูน มีความยาวประมาณ 30 เมตร และปัจจุบัน นักท่องเที่ยวจะใช้อุโมงค์นี้เพื่อเข้าสู่ มหาพีระมิดแห่งกิซ่า เนื่องจากทางเดินที่ลาดชันน้อย และเดินได้สะดวกสบายกว่าทางเดิมจริงมาก มีเรื่องเล่าหลายกระแสเกี่ยวกับ สุลต่าน แอล มามูน ว่าเขาและคณะไม่พบสมบัติใดๆใน พีระมิด เลย นอกจาก หีบศพหินแกรนิต ( Coffin ) ในห้องโถงแห่งกษัตริย์ ถึงแม้พวกเขาจะทำการค้นหาอย่างบ้าคลั่ง บางกระแสว่า สุลต่าน แอล มามูนพบทองในห้องลับ แต่ทองพบมีเพียงพอจ่ายค่าแรงคนงานเท่านั้น
4 Descending Passage
อุโมงค์ทางเดินแบบลาดลง มีความเอียงประมาณ 26 องศา มีลักษณะเป็นทางเดินแคบ กว้างเพียง 1.05 เมตร สูง 1.2 เมตร ทางเดินนี้มีความยาว จากปากทางถึง ห้องโถงใต้ดิน ( Subterranean chamber ) เป็นระยะทาง 103 เมตร
รูปซ้่าย ภาพภายในอุโมงค์ทางเดินแบบลาดลง
รูปขวา นาย Adam Rutherford กำลังตรวจสอบหินภายใน อุโมงค์ทางเดินแบบลาดลง
5 The Granite Plug
หินแกรนิตปิดปากทาง เข้าสู่อุโมงค์ทางเดินแบบชันขึ้น ( Ascending Pasage ) เมื่อเดินตามอุโมงค์ทางเดินแบบลาดลง ( Descending Passage ) มาเป็นระยะทาง 29 เมตร จะพบว่าบนเพดานมีหินแกรนิตขนาดใหญ่ จำนวน 3 ก้อนเรียงต่อๆกันมา ( แต่ละก้อนมีขนาด กว้าง 104.5 cm. ยาว 170 cm. สูง 119 cm. โดยก้อนแรกมีขนาดใหญ่กว่าก้อนอื่นเล็กน้อย และมีลักษณะปลายสอบ ทำให้มีสามารถที่จะดึงลงมาได้ ) คณะของ สุลต่าน แอล มามูน ( Al Mamoun ) พบปัญหาใหญ่ที่จะเดินทางต่อ จะเลี่ยงโดยการ ขุดเจาะบริเวณด้านผนังด้านข้างที่เป็นหินปูนซึ่งเป็นหินที่อ่อนกว่าแกรนิตอ้อมไปเชื่อมต่อกับ อุโมงค์ทางเดินแบบชันขึ้น ( Ascending Pasage ) แทน
รูปซ้าย คือ รูป หินแกรนิตปิดปากทางเข้าสู่ อุโมงค์ทางเดินแบบชันขึ้น
รูปทางขวา คือบันไดที่คณะของสุลต่าน แอล มามูน ขุดอ้อมขึ้นไป อุโมงค์ทางเดินแบบชันขึ้น
รูปทางขวา คือบันไดที่คณะของสุลต่าน แอล มามูน ขุดอ้อมขึ้นไป อุโมงค์ทางเดินแบบชันขึ้น
6 Ascending Passage
อุโมงค์ทางเดินแบบชันขึ้น โดยมีความชันขึ้น 26 องศา ( เช่นเดียวกับ อุโมงค์ทางเดินแบบลาดลง 26 องศา เช่นกัน ) และมีขนาดอุโมงค์ กว้าง 1.05 เมตร สูง 1.2 เมตร มีความยาว 37 เมตร จนไปบรรจบกับ พื้นที่ว่างขนาดใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ Grand Gallery
รูปถ่ายภายในอุโมงค์ทางเดินแบบชันขึ้น
7 Junction of Grand Gallery & Queen's Chamber Passage
ทางแยกที่จะนำไปสู่ แกรนด์ แกลเลอรี่ เพื่อนำไปสู่ ห้องโถงแห่งราชา ( King's Chamber ) กับอุโมงค์ทางเดินสู่ห้องโถงแห่งราชินี จากรูปจะเห็นว่า บริเวณผนัง ปากทางเข้าสู่อุโมงค์ทางเดินสู่ห้องโถงแห่งราชินี จะมีรูปสี่เหลี่ยมที่ผนัง และบริเวณ ขอบทางเดินริมผนัง มีรูสี่เหลี่ยมเรียงรายเป็นจำนวนมากนั้น นักอียิปต์วิทยาคาดการว่า จะเป็นช่องสำหรับติดตั้งไม้เพือทำเป็นสะพานชั่วคราว หรืออุปกรณ์สำหรับชักลาก สิ่งของขนาดใหญ่บางอย่าง
รูปซ้าย ที่เห็นมีตะแกรงเหล็กกั้นอยู่คืออุโมงค์ทางเดินสู่ ห้องโถงแห่งราชินี
รูปขวา ที่เห็นด้านล่างคืออุโมงค์ทางเดินสู่ ห้องโถงแห่งราชินี(ที่มีชายสวมชุดแบบอาหรับยืนอยู่) ส่วนด้านบนคือ แกรนด์ แกลเลอรี่ ( ส่วนที่เห็นชายสวมชุดขวายืนหันหลังอยู่ )
รูป สเกตช์ บริเวณ ทางแยกที่จะนำไปสู่ แกรนด์ แกลเลอรี่ (ส่วนที่เอียงขึ้น) หรือ อุโมงค์ทางเดินสู่ห้องโถงแห่งราชินี ( บริเวณที่เป็นทางเดิน ในร่องกลาง ตามแนวราบ )
8 The Grand Gallery
แกรนด์ แกลเลอรี่ เป็นบริเวณที่ อุโมงค์ทางเดินแบบชันขึ้น จะขยายออกจากกว้าง 1.05 เมตร สูง 1.2 เมตร เป็นโถงขนาดใหญ่ที่มีความกว้าง 2.1 เมตร สูง 8.4 เมตร ( ผนังสูงเท่ากับหิน 7 ก้อน สร้างด้วยหินปูน โดยแต่ละก้อนวางเอียงเข้ามาด้านในของทางเดิน ก้อนละ 7.5 เซ็นติเมตร ทำให้ความกว้างของทางเพดานเหลืออยู่เพียง 1 เมตร ) ทางเดินมีความชัน 26 องศา โดยมีความยาว 45.9 เมตร โดยสุดปลายทางเดิน ณ ห้องโถงแห่งกษัตริย์ ( King's Chamber )
รูปซ้าย เป็นรูป แกรนด์ แกลเลอรี่ โดยถ่ายขึ้นไปตามทางเพื่อมุ่งสู่ ห้องโถงแห่งราชา
รูปขวา เป็นรูปสเกตช์ บริเวณแกรนด์ แกลเลอรี่
รูป หลุมที่พื้นมีไว้สำหรับ ติดตั้่งหลักไม้ และหินสำหรับระบบขนส่ง หรือชักลากหิน
รูปซ้่ายเป็นแนวคิดเรื่องระบบ การชักลากโดยให้เชือกกางออกหลายแนวเพื่อจะได้ให้คนงานสามารถตั้งแถวได้หลายแนวในการดึง
รูปขวา เป็นแนวคิดเรื่องระบบรอก
รูปขวา เป็นรูปสเกตช์ บริเวณแกรนด์ แกลเลอรี่
รูป หลุมที่พื้นมีไว้สำหรับ ติดตั้่งหลักไม้ และหินสำหรับระบบขนส่ง หรือชักลากหิน
รูปซ้่ายเป็นแนวคิดเรื่องระบบ การชักลากโดยให้เชือกกางออกหลายแนวเพื่อจะได้ให้คนงานสามารถตั้งแถวได้หลายแนวในการดึง
รูปขวา เป็นแนวคิดเรื่องระบบรอก
9 The Great Step in the Grand Gallery
แกรนด์สเต็ป เป็นส่วนปลายสุดของ แกรนด์ แกลเลอรี่ มีลักษณะเป็นแท่งหินใหญ่ ยกสูงขึ้น ด้วยความกว้าง 1.8 เมตร สูง 0.9 เมตรตั้งอยู่หน้าแท่นลึก 2.4 เมตร โดยที่ผิวของ แกรนด์สเท็ป เต็มไปด้วยริ้วรอย บิ่น รอยแตก นักอียิปต์วิทยา คาดว่ามันมีไว้สำหรับผลิกหินที่ลากขึ้นมาตามทางลาด ของ แกรนด์ แกลเลอรี่
รูปซ้าย ภาพถ่ายมุมกว้างบริเวณ แกรนด์สเต็ป (บันไดลิง และราวจับถูกสร้างขึ้นในยุคหลังเพื่อนักท่องเที่ยว)
รูปขวา รูปภ่ายเจาะ บริเวณแกรนด์สเต็ป จะเห็นว่าในปัจจุบัน บริเวณแกรนด์สเต็ป เรียบเป็นมันวาว เนื่องจากเป็นบริเวณที่นักท่องเที่ยวปีนบันไ้ดขึ้น ทำให้ไม่เหลื่อร่องรอย ริ้วรอย บิ่น รอยแตก ต่างในอดีต
รูปขวา รูปภ่ายเจาะ บริเวณแกรนด์สเต็ป จะเห็นว่าในปัจจุบัน บริเวณแกรนด์สเต็ป เรียบเป็นมันวาว เนื่องจากเป็นบริเวณที่นักท่องเที่ยวปีนบันไ้ดขึ้น ทำให้ไม่เหลื่อร่องรอย ริ้วรอย บิ่น รอยแตก ต่างในอดีต
10 King's Chamber
ห้องโถงแห่งกษัตริย์ เป็นห้องที่เก็บพระศพของฟาโรห์คูฟู ก่อนที่เราจะมุ่งสู่ ห้องโถงแห่งกษัตริย์ จะต้องผ่านช่องทางเดินเล็กๆ ขนาดกว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร
รูปซ้าย เมื่อก้าวผ่านแกรนด์สเต็ป จะพบทางช่องทางเดิน ขนาด 1 x 1 เมตร
รูปขวา รูปสเกตช์ บริเวณปากทางเข้าสู่ห้องโถงแห่งกษัตริย์
รูปขวา รูปสเกตช์ บริเวณปากทางเข้าสู่ห้องโถงแห่งกษัตริย์
รูป เมื่อผ่านช่องทางเดิน ขนาด 1 x 1 เมตร มาได้ประมาณ 1 ใน 3 จะพบห้องอีกห้องที่เรียกว่า Antechamber เป็นห้องที่มีหินกั้นเป็นชั้นๆ เพื่อป้องกันโจรปล้นสุสาน
รูปซ้าย คือ Coffer คือ สิ่งของสิ่งเดียวที่พบใน ห้องโถงแห่งกษัตริย์ ของมหาพีระมิดแห่งกิซ่า Coffer เป็นหีบไม่มีฝา ( แต่เดิมคาดว่ามีฝาปิด แบบเลื่อน มีสลักตอกยึดป้องกันการเปิด ) สร้างจากหินแกรนิตทั้งก้อนเพียงก้อนเดียว มีขนาด ยาว 1.98 เมตร กว้าง 0.68 เมตร สูง 0.9 เมตร มุมด้านหนึ่งแตกเสียหาย
รูปขวา แปลนห้องโถงแห่งกษัตริย์ จะเห็น Coffer เป็นสีเหลียมสีเทาออกอยู่อยู่กลางห้องเยื้องไปทางซ้าย ส่วนทางเข้าอยู่บริเวณมุมล่างขวา ห้องโถงแห่งกษัตริย์ มีขนาด 10.3 x 5.18 เมตร สูง 5.8 เมตร
รูปซ้าย เป็นภาพตัดขวาง ห้องโถงแห่งกษัตริย์ มองไปทางทิศตะวันออก
รูปขวา เป็นภาพตัดขวาง ห้องโถงแห่งกษัตริย์ มองไปทางทิศใต้ ช่องสีดำที่มุมล่างขวา คือช่องทางเดินเข้า
รูปซ้าย รูปสเกตช์ Coffer และฝาปิดแบบเปิดเลื่อนไปด้านข้าง พร้อมสลักยึด
รูปขวา เป็นภาพสเกตช์ เพดานห้องโถงแห่งกษัตริย์ ที่ออกแบบมาด้วยสุดยอดทางวิศวกรรม โดยออกแบบด้านบนสุดวางหินเป็นคานหิน เอียงเพื่อถ่ายแรงออกด้านข้าง ด้านล่างเป็นคานหินซ้อนกัน 5 ชั้น เพื่อรับน้ำหนัก หินจำนวนมหาศาลที่วางอยู่ด้านบน กว่า ล้านตัน เพื่อป้องกันห้องโถงแห่งกษัตริย์พังทลายลงมา
รูปถ่าย ภายในช่องอุโมงค์บริเวณที่เป็นทางตัน
รูปซ้าย คือ Coffer คือ สิ่งของสิ่งเดียวที่พบใน ห้องโถงแห่งกษัตริย์ ของมหาพีระมิดแห่งกิซ่า Coffer เป็นหีบไม่มีฝา ( แต่เดิมคาดว่ามีฝาปิด แบบเลื่อน มีสลักตอกยึดป้องกันการเปิด ) สร้างจากหินแกรนิตทั้งก้อนเพียงก้อนเดียว มีขนาด ยาว 1.98 เมตร กว้าง 0.68 เมตร สูง 0.9 เมตร มุมด้านหนึ่งแตกเสียหาย
รูปขวา แปลนห้องโถงแห่งกษัตริย์ จะเห็น Coffer เป็นสีเหลียมสีเทาออกอยู่อยู่กลางห้องเยื้องไปทางซ้าย ส่วนทางเข้าอยู่บริเวณมุมล่างขวา ห้องโถงแห่งกษัตริย์ มีขนาด 10.3 x 5.18 เมตร สูง 5.8 เมตร
รูปซ้าย เป็นภาพตัดขวาง ห้องโถงแห่งกษัตริย์ มองไปทางทิศตะวันออก
รูปขวา เป็นภาพตัดขวาง ห้องโถงแห่งกษัตริย์ มองไปทางทิศใต้ ช่องสีดำที่มุมล่างขวา คือช่องทางเดินเข้า
รูปซ้าย รูปสเกตช์ Coffer และฝาปิดแบบเปิดเลื่อนไปด้านข้าง พร้อมสลักยึด
รูปขวา เป็นภาพสเกตช์ เพดานห้องโถงแห่งกษัตริย์ ที่ออกแบบมาด้วยสุดยอดทางวิศวกรรม โดยออกแบบด้านบนสุดวางหินเป็นคานหิน เอียงเพื่อถ่ายแรงออกด้านข้าง ด้านล่างเป็นคานหินซ้อนกัน 5 ชั้น เพื่อรับน้ำหนัก หินจำนวนมหาศาลที่วางอยู่ด้านบน กว่า ล้านตัน เพื่อป้องกันห้องโถงแห่งกษัตริย์พังทลายลงมา
11 Queen's Chamber Passage
อุโมงค์ทางเดิน เข้าสู่ห้องโถงแห่งราชินี เป็นอุโมงค์ขนาด กว้าง 1.14 เมตร สูง 1.04 เมตร ยาว 38.1 เมตร แต่ก่อนที่จะสุดอุโมงค์ ทางเดินจะลดระดับลองอย่างเฉียบผลัน 0.6 เมตร ซึ่งพื้นที่ลดระดับลงเป็นระดับพื้นห้องโถงแห่งราชินี
อุโมงค์ทางเดิน เข้าสู่ห้องโถงแห่งราชินี เป็นอุโมงค์ขนาด กว้าง 1.14 เมตร สูง 1.04 เมตร ยาว 38.1 เมตร แต่ก่อนที่จะสุดอุโมงค์ ทางเดินจะลดระดับลองอย่างเฉียบผลัน 0.6 เมตร ซึ่งพื้นที่ลดระดับลงเป็นระดับพื้นห้องโถงแห่งราชินี
12 Queen's Chamber
ห้องโถงแห่งราชินี ห้องโถงนี้มีการเรียกชื่อที่ผิด มาจากไม่มีพีระมิดใดในอียิปต์ ที่สร้างมาสำหรับ ฝังพระศพ ทั้งฟาโรห์ และชายา ในพีระมิดเดียวกัน แต่มีการเรียกชื่อตามลักษณะห้องตามชาวอาหรับที่จะตกแต่งสุสานของผู้หญิง ด้ายเพดานแบบจั่ว ( สำหรับสุสานของผู้ชายจะมีเพดานเรียบ ) ซึ่งการเรียกนั้นเรียกตาชื่อในภาษาอาหรับ สำหรับห้องโถงราชินียังคงเป็นปริศนาอยู่ว่า สร้างเพื่อวัตถุประสงค์ใดยังคงเป็นความลับอยู่ แต่คาดกันว่าจะเป็นห้องสำหรับประกอบพิธีศพ ลักษณะภายในห้องผิวพื้นค่อนข้าง ขรุขระ มีเพดานเป็นลักษณณะจั่ว ส่วนผิวผนังมีความลับอยู่ว่าทำไม จึงมีเกลือเคลือบหนาถึง 1.3 เซ็นติเมตร ภายในห้องมีขนาด 5.7 x 5.2 เมตร ความสูงส่วนที่สูงที่สุดในห้อง 6.24 เมตร วางเอียงทำมุม 30 องศาลาดลงสองข้าง ด้วยหินปูน
ช่องทางเดินสู่ห้องโถงลับใต้ดิน เป็นส่วนตั้งแต่ อุโมงค์ทางเดินแบบลาดลง เปลี่ยนจากเอียงลาดลงเป็นแนวราบ มีลักษณธเป็นรูเล็กๆ พอคลานผ่านไปได้ทีนะคนเท่านั้น เพื่อมุ่งสู่ ห้องโถงลับใต้ดิน
ห้องโถงแห่งราชินี ห้องโถงนี้มีการเรียกชื่อที่ผิด มาจากไม่มีพีระมิดใดในอียิปต์ ที่สร้างมาสำหรับ ฝังพระศพ ทั้งฟาโรห์ และชายา ในพีระมิดเดียวกัน แต่มีการเรียกชื่อตามลักษณะห้องตามชาวอาหรับที่จะตกแต่งสุสานของผู้หญิง ด้ายเพดานแบบจั่ว ( สำหรับสุสานของผู้ชายจะมีเพดานเรียบ ) ซึ่งการเรียกนั้นเรียกตาชื่อในภาษาอาหรับ สำหรับห้องโถงราชินียังคงเป็นปริศนาอยู่ว่า สร้างเพื่อวัตถุประสงค์ใดยังคงเป็นความลับอยู่ แต่คาดกันว่าจะเป็นห้องสำหรับประกอบพิธีศพ ลักษณะภายในห้องผิวพื้นค่อนข้าง ขรุขระ มีเพดานเป็นลักษณณะจั่ว ส่วนผิวผนังมีความลับอยู่ว่าทำไม จึงมีเกลือเคลือบหนาถึง 1.3 เซ็นติเมตร ภายในห้องมีขนาด 5.7 x 5.2 เมตร ความสูงส่วนที่สูงที่สุดในห้อง 6.24 เมตร วางเอียงทำมุม 30 องศาลาดลงสองข้าง ด้วยหินปูน
รูปซ้าย จะเห็นร่อง ที่มีรูปร่างคล้ายเจดีย์ เป็นแท่นบูชา ( Niche ) เป็นร่องลึกลงไปในผนัง 1.05 เมตร สูง 4.87 เมตร จากภาพ ตรงกลางจะมีรู ที่ถูกขุดโดย Colonel Vyse ในปี ค.ศ. 1837 เพื่อค้นหาสมบัติ
รูปขวา แปลนห้องโถงแห่งราชินี ที่เห็นเป็นติ่งด้านขวามือ คือแท่นบูชา ( Niche ) ส่วนแท่งสีเทาอันใหญ่ด้านบน คือทางเดินเข้า ส่วนสีเทาเล็กเป็นช่องระบายอากาศ ที่ไม่สามารถระบายอากาศได้ เนื่องจากมันยังคงปิดบังปริศนา
รูปซ้ายช่องระบายอากาศ ด้านทิศเหนือ รูปขวาช่องระบายอากาศทิศใต้ (ช่องระบายอากาศทั้งทิศเหนือ และใต้ ถูกค้นพบโดยวิศวกรชาวอังกฤษ ชื่อว่า Waynman Dixon ในปี ค.ศ. 1872 จากการที่เขาเคาะผนังแล้วพบว่า บริเวณดังกล่าวมีเสียงต่างไปจากบริเวณอื่น เนื่องจากมีหินอุดช่องระบายอากศอยู่ )
รูปซ้าย จากการสำรวจ ในปี 1872 ทำให้พบสิ่งของ 3 สิ่งในช่องระบายอากาศด้านเหนือ 1.ไม้ซีดาร์ ยาวประมาร 13 เซ็นติเมตร โดยนาย Piazzi Smyth คาดว่าจะเป็นไม้วัดระยะ 2. หินแกรนิตสีเขียว ทรงกลม หนัก 11 ปอนด์ 3 ออนซ์ 3.ตะขอสัมฤทธ์ ยาว 5 เซ็นติเมตร คาดว่าจะเป็นชิ้นส่วนของเครื่องมืองานไม้ ชนิดหนึ่งในสมัยนั้น
หลังจากนั้นเป็นเวลากว่า 70 ปี ไม่มีการตรวจสอบ ช่องระบายอากาศดังกล่าวอีกจนกระทั้งในปี 1993 นาย Rudolf Gantenbrink ได้พัฒนาหุ่นยนต์สำรวจระยะไกล จึงเริ่มโครงการสำรวจช่องระบายอากาศในห้องโถงแห่งราชินีอีกครั้งหนึ่ง
รูปซ้าย หลังจากส่งหุ่นยนต์เข้าไปสำรวจในช่องระบายอากาศทางทิศเหนือ หลังจากสำรวจเข้าไปได้เป็นระยะทาง 63.3 เมตร พบว่ามีหินผนึกขวาง และที่เห็นเป็นเส้นดำๆ คือมือจับทองแดง สิ่งที่ซ่อนอยู่หลังหินนี้ยังเป็นปริศนา
รูปขวา หินที่ผนึกช่องระบายอากาศด้านทิศใต้
หลังจากนั้นในวันที่ 17 กันยายน 2002 ได้มีการส่งหุ่นยนต์สำรวจที่ชื่อว่า Pyramid Rover ที่ได้รับการออกแบบโดย iRobot of Boston ที่มีการติดตั้งสว่านเพื่อเจาะหินที่ผนึก เข้าไปในช่องระบายอากาศด้านทิศใต้ หุ่นยนต์ได้ทำการเจาะรูขนาด 2 เซ็นติเมตร ลึกได้ประมาณ 17 เซ็นติเมตรผ่านก้อนหินเข้าไป ความลับที่เปิดเผยคือ ? หินผนึกชั้นที่สอง จึงทำให้มันยังคงเป็นปริศนาตราบเท่าทุกวันนี้
13 Subterranean Chamber Passageรูปขวา แปลนห้องโถงแห่งราชินี ที่เห็นเป็นติ่งด้านขวามือ คือแท่นบูชา ( Niche ) ส่วนแท่งสีเทาอันใหญ่ด้านบน คือทางเดินเข้า ส่วนสีเทาเล็กเป็นช่องระบายอากาศ ที่ไม่สามารถระบายอากาศได้ เนื่องจากมันยังคงปิดบังปริศนา
รูปซ้ายช่องระบายอากาศ ด้านทิศเหนือ รูปขวาช่องระบายอากาศทิศใต้ (ช่องระบายอากาศทั้งทิศเหนือ และใต้ ถูกค้นพบโดยวิศวกรชาวอังกฤษ ชื่อว่า Waynman Dixon ในปี ค.ศ. 1872 จากการที่เขาเคาะผนังแล้วพบว่า บริเวณดังกล่าวมีเสียงต่างไปจากบริเวณอื่น เนื่องจากมีหินอุดช่องระบายอากศอยู่ )
รูปซ้าย จากการสำรวจ ในปี 1872 ทำให้พบสิ่งของ 3 สิ่งในช่องระบายอากาศด้านเหนือ 1.ไม้ซีดาร์ ยาวประมาร 13 เซ็นติเมตร โดยนาย Piazzi Smyth คาดว่าจะเป็นไม้วัดระยะ 2. หินแกรนิตสีเขียว ทรงกลม หนัก 11 ปอนด์ 3 ออนซ์ 3.ตะขอสัมฤทธ์ ยาว 5 เซ็นติเมตร คาดว่าจะเป็นชิ้นส่วนของเครื่องมืองานไม้ ชนิดหนึ่งในสมัยนั้น
หลังจากนั้นเป็นเวลากว่า 70 ปี ไม่มีการตรวจสอบ ช่องระบายอากาศดังกล่าวอีกจนกระทั้งในปี 1993 นาย Rudolf Gantenbrink ได้พัฒนาหุ่นยนต์สำรวจระยะไกล จึงเริ่มโครงการสำรวจช่องระบายอากาศในห้องโถงแห่งราชินีอีกครั้งหนึ่ง
รูปซ้าย หลังจากส่งหุ่นยนต์เข้าไปสำรวจในช่องระบายอากาศทางทิศเหนือ หลังจากสำรวจเข้าไปได้เป็นระยะทาง 63.3 เมตร พบว่ามีหินผนึกขวาง และที่เห็นเป็นเส้นดำๆ คือมือจับทองแดง สิ่งที่ซ่อนอยู่หลังหินนี้ยังเป็นปริศนา
รูปขวา หินที่ผนึกช่องระบายอากาศด้านทิศใต้
หลังจากนั้นในวันที่ 17 กันยายน 2002 ได้มีการส่งหุ่นยนต์สำรวจที่ชื่อว่า Pyramid Rover ที่ได้รับการออกแบบโดย iRobot of Boston ที่มีการติดตั้งสว่านเพื่อเจาะหินที่ผนึก เข้าไปในช่องระบายอากาศด้านทิศใต้ หุ่นยนต์ได้ทำการเจาะรูขนาด 2 เซ็นติเมตร ลึกได้ประมาณ 17 เซ็นติเมตรผ่านก้อนหินเข้าไป ความลับที่เปิดเผยคือ ? หินผนึกชั้นที่สอง จึงทำให้มันยังคงเป็นปริศนาตราบเท่าทุกวันนี้
ช่องทางเดินสู่ห้องโถงลับใต้ดิน เป็นส่วนตั้งแต่ อุโมงค์ทางเดินแบบลาดลง เปลี่ยนจากเอียงลาดลงเป็นแนวราบ มีลักษณธเป็นรูเล็กๆ พอคลานผ่านไปได้ทีนะคนเท่านั้น เพื่อมุ่งสู่ ห้องโถงลับใต้ดิน
รูปซ้าย ภาพภายในช่องทางเดินสู่ห้องโถงลับใต้ดิน
รูปขวา เป็นรูปภาพจุดสิ้นสุดช่องทางเดิน แล้วโผล่ออกมาสู่ห้องโถงลับใต้ดิน
รูปขวา เป็นรูปภาพจุดสิ้นสุดช่องทางเดิน แล้วโผล่ออกมาสู่ห้องโถงลับใต้ดิน
14 Subterranean Chamber
ห้องโถงลับใต้ดิน เป็นห้องขนาดใหญ่ 14 x 8.2 เมตร สูง 3.35 เมตร มันเป็นห้องที่ขุดลึกลงไปในชั้นหิน เป็นระยะทางกว่า 182 เมตร จากยอดของพีระมิด โดยเพดานของห้องมีลักษณะเรียบ แต่พื้นนั้นขรุขระ ซึ่งดูเหมือนยังสร้างไม่เสร็จ
รูปซ้าย เป็นรูปที่ถ่ายในปี 1906 โดย Edgar brothers ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ขนาดของห้องได้อย่างดี โดยที่เห็นคนด้านซ้่ายสุดเป็นส่วน ทางออกทางเดิน ส่วนคนกลางคือบ่อไร้ก้น กลางห้อง
รูปขวา เป็นรูปที่แสดงให้เห็นว่าบางส่วนยังเป็นพื้นที่ขรุขระ ที่เห็นราวกันตก เป็นราวกันตกรอบบ่อไร้ก้น
รูปซ้ายเป็นภาพถ่ายมุมกว้างบริเวณปากบ่อไร้ก้น
รูปขวา เป็นรูปบ่อสี่เหลี่ยมที่ถูกเรียกว่า บ่อไร้ก้น ( Bottomless Pit ) ในครั้งแรกที่พบบ่อนี้ บ่อมีความลึกเพียง 4.5 เมตร แต่มันถูกกลบด้วย ยาง และเศษดินเศษหิน และเมื่อทำการขุดลอกสิ่งที่กลบอยู่ออกทำให้ บ่อนี้มีความลึกถึง 18 เมตร ซึ่งยังไม่ทราบความลึกที่แน่นอนของมัน และสิ่งที่ซ่อนอยู่ด้านล่าง
15 The Dead End passage in the Subterranean Chamber
อุโมงค์ทางเดินตัน ในห้องโถงลับใต้ดิน บริเวณผนังด้านใต้มีช่องเล็กๆ ขนาด 0.75 x 0.75 เมตร ยาวเป็นระยะทาง 15.9 เมตร ไปสิ้นสุดที่ทางตัน
รูปซ้าย เป็นรูปที่ถ่ายในปี 1906 โดย Edgar brothers ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ขนาดของห้องได้อย่างดี โดยที่เห็นคนด้านซ้่ายสุดเป็นส่วน ทางออกทางเดิน ส่วนคนกลางคือบ่อไร้ก้น กลางห้อง
รูปขวา เป็นรูปที่แสดงให้เห็นว่าบางส่วนยังเป็นพื้นที่ขรุขระ ที่เห็นราวกันตก เป็นราวกันตกรอบบ่อไร้ก้น
รูปซ้ายเป็นภาพถ่ายมุมกว้างบริเวณปากบ่อไร้ก้น
รูปขวา เป็นรูปบ่อสี่เหลี่ยมที่ถูกเรียกว่า บ่อไร้ก้น ( Bottomless Pit ) ในครั้งแรกที่พบบ่อนี้ บ่อมีความลึกเพียง 4.5 เมตร แต่มันถูกกลบด้วย ยาง และเศษดินเศษหิน และเมื่อทำการขุดลอกสิ่งที่กลบอยู่ออกทำให้ บ่อนี้มีความลึกถึง 18 เมตร ซึ่งยังไม่ทราบความลึกที่แน่นอนของมัน และสิ่งที่ซ่อนอยู่ด้านล่าง
15 The Dead End passage in the Subterranean Chamber
อุโมงค์ทางเดินตัน ในห้องโถงลับใต้ดิน บริเวณผนังด้านใต้มีช่องเล็กๆ ขนาด 0.75 x 0.75 เมตร ยาวเป็นระยะทาง 15.9 เมตร ไปสิ้นสุดที่ทางตัน
รูปถ่าย ภายในช่องอุโมงค์บริเวณที่เป็นทางตัน
16 , 17 Well-Shaft
ช่องแนวดิ่ง บริเวณที่เป็นจุดตัดระหว่าง อุโมงค์ทางเดินแบบชันขึ้น กับ แกรนด์แกลเลอรี่ โดยมีช่องซึ่งเป็นเบาะแส นำไปสู่การพบช่องแนวดิ่ง ที่เชื่อมลงไปสู่อุโมงค์ทางเดินแบบลาดลง ด้านล่าง โดยช่องแนวดิ่งมีความกว้างประมาณ 0.9 x 0.9 เมตร
ข้อมูลอ้างอิง มหาพีระมิด แห่ง กิซ่า
- http://www.khufu.dk/index.htm
- http://www.hunkler.com/pyramid.htm
- http://www.gizapyramid.com/index.html
- http://www.touregypt.net/featurestories/greatpyramid3.htm
- http://www.greatpyramidexplanation.com/easyNews/NewsLeggi.asp?IDNews=6
- http://www.ancient-wisdom.co.uk/Ghizaarchitecture.htm#2.21 มีรูปการสำรวจโดยกล้องหุ่นยนต์ ที่ค้นพบห้องลับ
- http://www.theglobaleducationproject.org/egypt/studyguide/gpinterior.php