สิ่งใกล้ๆ ที่ ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า
Microcosmos ไมโครคอสม็อส เป็นหนังสือที่นำพาคุณสู่จักรวาล แห่ง โลกระดับไมโคร ที่หากโลกนี้ปราศจาก ซึ่ง เทคโนโลยี เราคงไม่มีวันได้เหยียบย่าง หรือ ได้รับ ได้รู้ การมีอยู่ซึ่งตัวตนของพวกมัน แม้มันจะอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่กับไกลเกินจินตนาการ
เปิดประตู สู่โลกระดับไมโคร( ไม่ใช่โลก ของ พี่หนุ่ย นะ )
หนังสือ ไมโครคอสม็อส เป็นหนังสือที่รวมรูปถ่ายสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเรา ซึ่งบางสิ่งนั้นเราเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่เมื่อนำเสนอด้วยมองมุมแบบ โคลสอัพ (Close-ups) ซึ่งบางรูปนั้นถูกโคลสอัพด้วยกำลังขยายกว่า 22 ล้านเท่า จึงเป็นเสมือนเปิดอีกมิติหนึ่งให้เราได้ เหยียบย่างเข้าไป ให้ได้รับชมกัน 203 ภาพ
รูปนี้ก็เป็นรูปของ มดไม้(Wood and) ที่ตกเป็นทาสของ มด Formica sanguine กำลังคาบไมโครชิพไว้ด้วยเขี้ยว โดยภาพนี้ถ่ายด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน (coloured scanning electron micrograph) ด้วยกำลังขยายเพียง 22 เท่า
ส่วนภาพสีสวยสดใสนี้คงแทบจะไม่มีใครเดาออกว่ามันคืออะไร? เนื่องจากมันคือ ฝุ่นผงธรรมดาๆในบ้านของเรา ซึ่งประกอบไปด้วย เส้นผม เส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยของผ้าขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ ชิ้นส่วนของพืช และแมลง โดยถ่ายด้วยกำลังขยาย 115 เท่า
ภาพนี้ก็คือ ตัวแควก หรือที่เรารู้จักในชื่อ เทปตีนตุ๊กแก ไนลอน ที่ใช้มีติดตามรองเท้า เสื้อผ้าต่างๆ
หากสนใจเกี่ยวกับบทความ เทปตีนตุ๊กแก จากจุดเล็ก สู่การค้นพบอันยิ่งใหญ่ Click Here
หากสนใจเกี่ยวกับบทความ เทปตีนตุ๊กแก จากจุดเล็ก สู่การค้นพบอันยิ่งใหญ่ Click Here
ภาพนี้ก็ดูแปลกตาดีเหมือนขนม แต่ ความจริงมันคือภาพขยายพื้นผิวหน้าของ ไมโครชิพซิลิคอน(Silicon Microchip) ที่ถ่ายด้วย scanning electron micrograph (SEM) โดยกล้องอิเล็กตรอน
ภาพนี้ไม่ใช่พื้นผิวของดาวอังคาร หรือ ฉากในภาพยนตร์ Hollywood แต่ความจริงแล้วมันคือ กระดาษมวลบุหรี่ ของสิงห์อมควัน โดยคริสตัลสีฟ้า คือสิ่งที่หลงเหลือจากเผาไหม้ของบุหรี่ ที่เกิดจากออกซิเจน
ส่วนภาพนี้ไม่ใช่ กะหล่ำปลีแดง แต่ เป็นภาพกำลังขยาย 21 เท่า ของส่วนของท่อนำไข่ที่เรียกว่า infundibulum มีลักษณะเป็นรูปกรวย โดยบริเวณส่วนปลาย ของ infundibulum ที่เปิดออกสู่ช่องท้องมีส่วนยื่นออกเป็นริ้วคล้ายนิ้วมือเรียกว่า fimbriae เพื่อรองรับและเก็บเซลล์ไข่ที่ตกออกมาในช่องท้องโดย cilia จะช่วยโบกพัดให้เซลล์ไข่เคลื่อนเข้าไปในท่อนำไข่
ส่วนอันนี้คือขนตาของเรา กำลังขยาย 50 เท่า ส่วนที่โคนขนตา ไม่รู้ใช่เพื่อนสนิท คิดไม่ซื่อของเราหรือเปล่าก็ไม่รู้? หลายคนอาจจะสงสัยว่าใคร คือ เพื่อนสนิทคิดไม่ซื่อ ก็ ไรขนตา นั้นเอง (เห็นไหมถ้าไม่มีเทคโนโลยี ขนาด ของที่อยู่ใกล้ตาเรา อย่างขนตา เราก็ไม่มีปัญญา จะเห็นมัน)
อ่านบทความ ไรขนตา เพื่อนสนิทใกล้ชิด ที่คุณต้องขนตาลุก Click Here
อ่านบทความ ไรขนตา เพื่อนสนิทใกล้ชิด ที่คุณต้องขนตาลุก Click Here
ส่วนนี้ก็เพื่อนสนิท อีกตัวหนึ่งของเรา เจอกันเกือบทุกวัน ทะเลาะกันทุกครั้ง แน่นอนมันถึงขั้นลงไม้ลงมือ บางครั้งก็ถึงเลือดตกยางออก บ้างก็รุนแรงถึงชีวิตกันก็มี ก็แค่เห็นนี้ก็ของขึ้นแล้ว ไอ้ยุงร้าย จอมกวนใจ ที่ถ่ายด้วยกำลังขยาย 160 เท่า
ภาพนี้คือ สนิมบนตะปู ที่ถ่ายด้วยกำลังขยาย 600 เท่า ซึ่งอาจจะดูเหมือน พื้นผิวของดวงจันทร์ ( เชื่อหรือเปล่าว่า ผมมีความคิดว่า โลกของเราอาจจะเป็น อะไรเล็กๆ ในร่างของสิ่งมีชีวิตอะไรซักอย่าง ที่ตัวใหญ่โตมากๆ ก็ได้ )
ทำไมเทคโนโลยี่จึงทำให้เราเห็น โลกอันน่าตื่นใจนี้
- เนื่องจากใน อดีต กล้องจุลทรรศน์นั้นจะเป็นแบบ กล้องจุลจุลทรรศน์แบบใช้แสง(Light microscopes) กับ กล้องจุลจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission electron microscopes) ซึ่งจะต้องนำชิ้นงานมาทำให้บางแล้วติดบนแผ่นกระจกสไลค์ เพื่อให้แสงด้านล่างส่องผ่านขึ้นมา ภาพที่ได้จึงไม่มีมิติ ตื้นลึก
- แต่ กล้องจุลจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน (Scanning electron microscopes) จะใช้การยิง อิเล็กตรอนเข้าสู่วัตถุที่ต้องการส่อง แล้วใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลสร้างเป็นภาพ จากอิเล็กตรอนที่สะท้อนกลับมา และหรือ อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาจากวัตถุ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องแล่ชิ้นงานให้เป็นชิ้นบาง ติดบนแผ่นกระจก อีกต่อไป
ข้อมูลอ้างอิงหากมันไม่แพงจนเิกินเอื้อม ปีใหม่ 2011 ผมจะไปร้านหนังสือ Asia Book ซื้อมันมานอนกอดเล่น เป็นของขวัญให้ตัวเองซะหน่อย ของ Admin DEN หน่อยนะ
Microcosmos Book
อ้างอิงในส่วนเนื้อหา และรูปภาพ
อ้างอิงในส่วน เนื้อหาท่อนำไข่