กลางป่าดงดิบในประเทศอินเดีย มีสะพานไม้ที่แปลกประหลาดไม่เหมือนสะพานใดในโลก เนื่องจากสะพานเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตได้ พวกมันเป็นสะพานไม้ที่ ไม่มีแม้ตะปูซักดอก หรือ แม้แต่เชือกแม้แต่เส้นเดียวที่ใช้ผูกโยงรัด
รายละเอียด
- ท่ามกลางป่าฝนของเมือง Cherrapunji รัฐเมฆาลัย (Meghalaya) ประเทศอินเดีย มีสะพานไม้ที่เกิดจาก เถา และ ราก ของต้นไม้ที่พันเกียวกันยืนออกไปในแนวราบ พาดผ่านลำน้ำ จนกลายเป็นสะพาน
- ป่าใน Cherrapunji นี้ถือว่าเป็นดินแดนที่ ฝนตกชุกที่สุดในโลก เป็นอันดับที่สอง ถึงจะมีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 15 เมตร/ปี ภูมิอากาศที่เปียกชื้นเช่นนี้ถ้าเป็นสะพานไม้แปรรูปที่มนุษย์สร้างขึ้นคงผุพังอย่างรวดเร็ว แต่ เนื่องจากสะพานธรรมชาติเหล่านี้ต้นไม้นั้นยังมีชีวิตยิ่งเวลาผ่านไปนานวันเข้าต้นไม้ก็ยิ่งโต รากก็ยิ่งใหญ่ สะพานก็ยิ่งแข็งแรงขึ้น
- สะพานไม้เหล่านี้บางแห่งมีความยาวกว่า 30 เมตร(100 ฟุต) แต่แข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักของคน 50 คน ได้อย่างสบาย
- สะพานเหล่านี้เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านพื้นเมือง ที่จะใช้ซุงยาวพาดผ่านลำน้ำเพื่อใช้เป็นไกค์ให้ เถา และรากของต้นยาง(Ficus Elastica) งอกยื่นพาดผ่านลำน้ำไปในทางตามที่ต้องการ
- การสร้างสะพานลักษณะนี้ต้องใช้เวลา 10-15 ปี กว่าจะสำเร็จเป็นสะพานที่ใช้สัญจรได้
ชาวพื้นเมืองใช้สะพานไม้เหล่านี้สัญจรข้ามลำน้ำอย่างสะดวกสบาย และปลอดภัย ไม่ต้องคอยหมั่นดูแลรักษาเนื่องจากยิ่งนานวันสะพานยิ่งแข็งแรง
เมื่อซูมเข้าไปใกล้จะเห็นว่าระบบราก และเถาถักกันอย่างแน่นหนาแข็งแรง
บทความที่เกี่ยวข้องกับ สะพาน
ข้อมูลอ้างอิง
- http://www.dailymail.co.uk/news/article-2035520/Bridges-GROW-tropical-roots-vines-crossing-rivers.html