รุ้งกลับหัว เหตุอาเพศ หรือ แค่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปกติเราจะเห็นรุ้งกินน้ำในลักษณะโค้งคว่ำ แต่เมื่อมีรุ้งกินน้ำเกิดขึ้นในลัษณะหงาย บ้างก็ว่าเป็นรางร้าย บ้างก็ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติขึ้น เรามารู้จัก รุ้งกินน้ำกลับหัว กันให้ลึกขึ้นอีกนิคดีกว่า
รายละเอียด รุ้งกินน้ำกลับหัว
- รุ้งกินน้ำกลับหัว ไม่ใช่เหตุอาเพศอะไร เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แต่มีขบวนการเกิดที่แตกต่างจากรุ้งกินน้ำธรรมดา
- รุ้งกินน้ำกลับหัว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า โค้งอาร์คเซอคัมซีนิทธัล(Circumzenithal arc มีชื่อย่อ CZA) หรือ Bravais' Arc
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะมีลักษณะเป็นโค้งวงกลมไม่เต็มวง(เกิดเพียง 1 ใน 4 ของวงกลม) โดยมีจุดศูนย์กลางของรุ้งอยู่ที่จุด zenith(จุดสูงสุดของฟ้า ปกติก็อยู่กลางหัวของเรา)
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะเกิดในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะมีสีน้ำเงินอยู่ด้านในโค้ง แล้วไล่ออกมาเรื่อยๆโดยด้านนอกสุดจะเป็นสีแดง
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะมีสีสันสดใสกว่ารุ้งปกติ เนื่องจากสีที่ซ้อนทับกันน้อยกว่า
- รุ้งกินน้ำทั่วไปเกิดจากการที่แสงอาทิตย์หักเหกับละอองน้ำ แต่ รุ้งกินน้ำกลับหัว นั้นเกิดจากการที่แสงหักเหกับผลึกน้ำแข็งในเมฆ cirrus clouds โดย แสงอาทิตย์ที่วิ่งผ่าน ผลึกน้ำแข็งจะวิ่งมาในแนบราบ ผ่านด้านเรียบของผลึกน้ำแข็ง แล้วหักเหออกบริเวณข้างของปริซึมน้ำแข็ง
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะเกิดเฉพาะเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นทำมุม กับแนวราบน้อยกว่า 32.2 องศา เท่านั้น เนื่องจากเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นสูงกว่า 32.2 องศาแสงที่ผ่านด้านบนของผลึกน้ำแข็งจะหักเหออกด้านล่างแทนด้านข้าง ทำให้แสงที่หักเหออกมาแทบจะไม่เกิดสี
- รุ้งกินน้ำกลับหัว จะมีสีสันสดใสที่สุดเมื่อพระอาทิตย์ทำมุม 22 องศา 3 ลิบดา เนื่องจากเป็นมุมเบี่ยงเบต่ำสุด ของ แสงเข้าและออก
- รุ้งกินน้ำ
- ปรากฏการณ์ธรรมชาติ รุ้งหมอก
- ปรากฏการณ์ธรรมชาติ คันศรแห่งรัตติกาล รุ้งกินน้ำที่เกิดตอนกลางคืน
- ดอกกุหลาบ สีรุ้ง
- ต้นไม้สีรุ้ง
- http://en.wikipedia.org/wiki/Circumzenithal_arc