สัตว์แปลก กับ การพรางตัว

จ้าวแห่งการพรางตัว


การพรางตัว เป็นทั้งวิธีในการเอาชีวิตรอดสำหรับสัตว์ที่อ่อนแอ ทั้งเป็นยังเป็นวิธีล่าที่ชาญฉลาดของนักล่าบางประเภท เราลองไปดูว่าธรรมชาติ ได้สร้างสรรค์ จ้าวแห่งการพรางตัวไว้อย่าง ตื่นตลึง

การพรางตัวเพื่อ เอาชีวิตรอด และใช้ในการล่า


ผีเสื้อใบไม้ตาย (dead-leaf butterfly) หากมันไปเกาะอยู่ที่พื้นที่มีใบไม้แห้ง คงยากยิ่งที่จะมีนักล่าตัวใดพบเห็นพวกมัน


ตั๊กแตน Phyllium giganteum นี้ก็เป็นอีกหนึ่งการพรางตัวที่เหมือนใบไม้สด ทั้งยังมีรอยด่าง รอยยักของใบไม้ ที่ยิ่งเพิ่มความเหมือนยิ่งขึ้นไปอีก


กบ leaf mimic frog ก็พรางตัวได้เหมือนใบไม้ที่ตายแล้วตามพื้นดิน


ปลา Amazon leaf fish (ชื่อวิทยาศาสตร์ Monocirrhus polyacanthus) ก็เป็นอีกหนึ่งใน จ้าวแห่งการพรางตัว แถมยังมีท่าทางในการว่ายน้ำเหมือนใบไม้ที่ลอยตามกระแสน้ำไปมา โดยการว่ายหัวทิ่งลงพื้น และมักจะว่ายน้ำไปทางด้านข้าง เห็นอย่างนี้พวกมันเป็นปลานักล่า นะครับ


นกศรีลังกาปากกบ (Sri Lankan frogmouth ชื่อวิทยาศาสตร์ Batrachostomus moniliger ) ก็มีสีขนคล้ายกิ่งไม้


มังกรทะเลใบไม้ (Leafy Sea Dragon) พวกมันเป็นปลาทะเล ที่เป็นญาติใกล้ชิดกับ ม้าน้ำ ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้าย สาหร่ายทะเล
<< อ่านบทความ เกี่ยวกับ มังกรทะเลใบไม้ คลิกที่นี้ >>


จิ้งจกหางใบไม้ ( Leaf-tailed gecko หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Uroplatus ) เป็นจิ้งจกที่พบได้ที่เกาะ Madagascar


หมาจิ้งจอกหิมะ ( Snow fox ) ก็เป็นจ้าวแห่งการพรางตัว เนื่องจากเมื่อถึงฤดูหนาว พวกมันจะผลัดขน จากสีดำสลับคลีม เป็นสีขาวหิมะ (รูปขวา เป็นขนในฤดูร้อน ในปากจะคาบ ตัว lemming กลับไปให้ลูกที่รอคอยอยู่ที่รัง


หมึกกระดอง (Cuttlefish) ยิ่งมีวิวัฒนาการสูงขึ้นไปอีกขั้น กล่าวคือ ที่ผิวหนังมีเซลสี ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตาม สภาพภูมิประเทศ และยังสามารถใช้ในการสื่อสาร ระหว่างหมึกได้อีกต่างหาก

คน(มนุษย์) ก็เป็น จ้างแห่งการพรางตัว

ถึงมนุษย์จะไม่มี ผิวหนัง หรือ ขนที่เหมือนกับสภาพแวดล้อม แต่มนุษย์ ก็มีสมอง และสองมือที่จะสรรค์สร้าง การพรางตัวได้ไม่น้อยหน้ากว่า สัตว์ชนิดใดๆ


ผลงาน body paint ของ Emma (Jane) Hack ที่วาดลวดรายของนางแบบได้กลมกลืนกับพื้นหลังจากน่า อัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง


ชุดพราง ขั้นเทพผลงานของ Desiree Palmen


แต่ชุดนี้ เป็นหนึ่งในสุดยอดเทคโนโลยี่ ของ นักวิจัยชาวญี่ปุ่น แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ที่ประดิษฐ์ชุดล่องหน แต่เทคโนโลยี่นี้ยังต้อง การที่จะมองภาพเหมือนผู้สวมชุดล่องหนได้นั้นยังต้องมองผ่านหน้าจอพิเศษ ยังไม่สามารถมองเห็นภาพดังกล่าวโดยตรง


หลัการการทำงานของเสื้อคลุมล่องหน คือ ตั้งกล้องบันทึกภาพด้านหลังผู้สวมชุดล่องหน ภาพพื้นหลังจะถูกส่งผ่านคอมพิวเตอร์ นำฉายขึ้นสู่ฉากใสที่ให้ผู้สังเกตการณ์มองผ่าน ซึ่งจะมองเห็นภาพซ้อนของพื้นหลังบนตัวของผู้สวมใส่ชุดล่องหน ทำให้เกิดภาพลวงตาเสมือนผู้นั้นล่องหน จนมองทะลุผ่านได้

ข้อมูลอ้างอิง จ้างแห่งการพรางตัว

  • http://conservationreport.com/2008/11/08/can-you-see-me-animal-camouflage-leaf-mimics/
  • http://www.weirdworm.com/5-weird-birds/
  • http://www.arkive.org/sri-lankan-frogmouth/batrachostomus-moniliger/image-G12246.html
  • http://ngm.nationalgeographic.com/ngm/0410/feature4/zoom4.html
  • http://www.moillusions.com/2009/08/emma-hacks-camouflage-art.html