ธาตุ ที่ เบาที่สุดในโลก ( Hydrogen )

ธาตุ ที่ เบาที่สุดในโลก
เนนิวล่าอินทรี

Hydrogen ไฮรโดรเจน เป็น ธาตุที่เบาที่สุดในโลก และเป็นธาตุที่พบได้ มากที่สุดในจักรวาล คือ ทั้งจักรวาลมีปริมาณ ไฮโดรเจน ถึง 75 %

รายละเอียดเกี่ยวกับ ธาตุ ไฮโดรเจน


  • เป็นธาตุอันดับที่ 1 ในตารางธาตุ
  • ใช้ตัว H แทนสัญลักษณ์ของธาตุไฮโดรเจน
  • ที่อุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศมาตรฐาน ไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่โมเลกุลมี 2 อะตอม ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ติดไฟง่าย เป็นอโลหะ และมีอิเล็กตรอนชั้นนอกสุด (เวเลนซ์อิเล็กตรอน) ตัวเดียว
  • เป็นธาตุที่มีปรากฏในจักรวาล มากที่สุด คือประมาณร้อยละ 75
  • ไฮโดรเจนสามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และพบได้ในสารอินทรีย์ทุกตัว
  • การผลิตธาตุไฮโดรเจนในห้องทดลองนิยมใช้วิธี การหยดกรดลงโลหะ เช่นสังกะสี
  • กานผลิตในเชิงอุตสหกรรม ทำโดยการย่อยก๊าซธรรมชาติ , การแยกตัวจากน้ำด้วยไฟฟ้า(เป็นวิธีที่ง่าย แต่ราคาแพงกว่าวิธีแรก)
  • ไฮโดรเจนถูกค้นพบครั้งแรกโดย เฮนรี่ คาเวนดิช ในปี 1766 ระหว่างทำการทดลองระหว่างกรด และปรด แต่เขาสันนิษฐานผิดว่า ไฮรโดรเจนคือสารประกอบของปรอท
คลังภาพ ไฮโดรเจน ธาตุที่เบาที่สุดในโลก

อธิบายภาพ จั่วหัว เนื่องจากในจักรวาลมีไฮโดรเจนมากถึง 75% จึงแทนรูปภาพของไฮโดรเจนด้วยรูป เนนิวลาอินทรี(Eagle Nebula) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่ไม่มีสีไม่มีกลิ่น แต่ทำไม เนนิวลาอินทรี จึงมีรูปร่าง และสีสันสวยงามนั้นเกิดจาก แสงจากดาวฤกษ์ต่างๆ ไม่ใช่สีของ ไฮโดรเจน

ดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์(Sun) คือ ตัวอย่างที่ดีที่สุดในการอ้างอิงถึง ดวงดาวที่ประกอบไปด้วยธาตุไฮโดรเจน ในสถานะพลาสม่า โดยดวงอาทิตย์ประกอบไปด้วยธาตุไฮโดรเจนถึงร้อยละ 75 โดยน้ำหนัก

ไฮโดรเจน เผาไหม้ ระเบิด
ภาพนี้เกิดจากเผาไหม้ของธาตุไฮโดรเจนที่ถูกบรรจุในฟองสบู่ ในอากาศ

เรือเหาะฮินเดนบวร์ก ไหม้ ระเบิด
รูปภาพเรือเหาะฮินเดนบวร์ก ที่ใช้ ไฮโดนเจน ที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศบรรจุในตัวเรือ เพื่อใช้เป็นแรงยกตัว เกิดการลุกไหม้เป็นจุล ทำให้หน้าประวัติศาสตร์การบินเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง การเดินทางโดยใช้เรือเหาะถึงจุดจบ การบินโดยเครื่องบินได้รับความนิยมเข้ามแทนที่อย่างรวดเร็วทดแทน

ตัวอย่าง ก๊าซ ไฮโดรเจน
ภาพตัวอย่างขวดที่บรรจุธาตุไฮโดรเจน พร้อมคำบรรยายว่า ธาตุไฮโดรเจนในจักรวาลใช้เวลากำเนิดเพียง 1/3 นาที ของการระเบิด Big Bang

ข้อมูลอ้างอิง ธาตุ ที่ เบาที่สุดในโลก ( Hydrogen )

  • http://th.wikipedia.org/wiki/ไฮโดเจน อ้างอิงในส่วนเนื้อหา
  • http://www.periodictable.com/Elements/001/index.html อ้างในส่วนเนื้อหา และรูปภาพ