เสื้อกันกระสุน คือ เกราะอ่อนที่มีไว้สำหรับป้องกันอันตรายจาก คม กระสุน แต่เสื้อกันกระสุนระบบเดิมนั้นมีข้อด้อยคือ ไม่ยืดหยุ่น ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ทำให้มีความจำเป็นต้องเว้นการป้องกันบริเวณข้อต่อต่างของร่างกาย ข้อด้อยอีกอย่างคือ น้ำหนักที่มาก จึงมีการพัฒนาเสื้อกันกระสุน ชนิดของเหลว เพื่อกลบข้อด้อยเหล่านั้น
รายละเอียด
- พัฒนาการณ์ใหม่ล่าสุด ของ เสื้อกันกระสุน ที่มีชื่อเรียกเก๋ๆว่า เสื้อกันกระสุนคัสตาร์ด('bullet-proof custard) เนื่องจากได้มีการแทรกชั้นของเหลว ที่มีลักษณะเป็นวุ้น เข้าไปในเสื้อกันกระสุน
- เสื้อกันกระสุนระบบเดิมนั้นใช้ ผ้าเคฟล่าร์(Kevlar) ซ้อนทับกัน 30 -40 ชั้น (ยิ่งซ้อนกันมากชั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันกระสุนได้ดีขึ้น) แต่ ข้อเสียของการใช้ผ้าเคฟล่าร์ซ้อนกันหลายชั้นคือ ยิ่งซ้อนมากยิ่งมีน้ำหนักมาก ขาดความยือดหยุ่น
- ใช่ว่าเมื่อใส่เสื้อกันกระสุนแล้วจะไม่ได้รับบาดเจ็บ เมื่อถูกยิง ถึงกระสุนจะฝังเข้าสู่ร่างกาย แต่ แรงกระแทกจากกระสุนนั้นยังสามารถทำให้ร่างกายบาดเจ็บได้
- จึงได้มีการพัฒนาเสื้อกันกระสุน ชนิดใหม่ ที่มีความยือหยุ่น และสามารถแข็งตัวขึ้นเมื่อได้รับแรงกระแทกจะกระสุน
- โดยเสื้อกันกระสุนชนิดใหม่นี้ได้มีการเสริมชั้นของเหลวเพิ่มเข้ามา ในระหว่างชั้นเคฟล่าร์ ซึ่งจะทำให้สามารถลดจำนวนชั้นเคฟล่าร์ให้เหลือเพียง 10 ชั้น นั้นจึงทำให้เสื้อกันกระสุนคัสตาร์ดนี้ มีน้ำหนักเบาลง และมีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น
- ที่สำคัญคือเสื้อกันกระสุนนี้มี คุณสมบัติของเหลว ที่จะสามารถอธิบายง่ายๆ ตัวอย่างเมื่อเราเอาวัสถุตีลงบนน้ำแรงๆจะสัมผัสได้ว่าน้ำจะออกแรงต้านมากว่าการ การตีเบาๆ ทำให้เสื้อกันกระสุนคัสตาร์ด เมื่อถูกกระสุนกระแทกรุนแรง ชั้นของเหลวจะเกิดการแข็งตัวขึ้น และกระจายแรงกระแทกออกไปในวงกว้าง ทำให้ผู้สวมใส่ได้รับบาดเจ็บจากแรงกระแทกลดลง
- เสื้อกันกระสุนคัสตาร์ด นี้ ได้แสดง
- ของเหลวที่ถูกนำมาใช้ในการทำเสื้อกันกระสุนปืน นี้มีชื่อเรียกว่า shear thickening fluid โดยมันถูกนำมาเปรียบเทียบว่าเหมือน คัสตาร์ด เนื่องจาก มีความสามารถที่โมเลกุลของเหลวจะจับตัวกัน เมื่อถูกแรงกระแทก ทำให้เกิดของเหลวมีสภาพ ข้นเหนียวขึ้น เช่นเดียวกับครีมซอสขนมคัสตาร์ด ที่จะเข้นเหนียวขึ้นเมื่อถูกกวนตอนร้อน
- อธิบายภาพจั่วหัว จะเห็นว่า เสื้อกันกระสุนระบบเดิม(ภาพสีขาว) เมื่อกระสุนกระแทกแรงกระแทกจะไม่กระจายตัว แต่เสื้อกันกระสุนระบบของเหลว(ภาพสีเหลือง) เมื่อกระสุนกระแทกแรงกระแทกจะถูกระจายออกไปทั่วเป็นวงกว้าง ทำให้ได้รับบาดเจ็บน้อยลง
ภาพการทดสอบประสิทธิภาพ วัสดุเคฟล่าร์ 10 ชั้น แต่ละชั้นแทรกไว้ด้วยของเหลว shear thickening fluid
ภาพวัสดุเคฟล่าร์ 31 ชั้น จะเห็นว่าเมื่อกระสุนกระทบ แรงกระแทกที่เกิดขึ้นจะรุนแรงกว่า แบบแทรกชั้นของเหลว มากมายนัก
ภาพวัสดุเคฟล่าร์ 31 ชั้น จะเห็นว่าเมื่อกระสุนกระทบ แรงกระแทกที่เกิดขึ้นจะรุนแรงกว่า แบบแทรกชั้นของเหลว มากมายนัก
- http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-1346877/Bullet-proof-custard-British-soldiers-wearing-revolutionary-new-liquid-body-armour-years.html