กะโหลกแก้ว เก๊ หรือ แท้ (Fake)

กะโหลกแก้ว แห่ง มายา เก๊ หรือ แท้


Crystal skulls กะโหลกแก้ว เป็น 1 ใน สมบัติโบราณของอารยธรรมที่สาบสูญ ที่เต็มไปด้วยปริศนามานับศตวรรษ นับตั้งแต่มีการค้นพบกะโหลกแก้ว ของ ชนเผ่าโบราณ ยิ่ง Hollywood นำมันมาผูกเข้า ภาพยนต์เรื่องอินเดียน่าโจน์ ว่าผู้ได้ครอบครองมันจะได้รับพลังที่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ไว้ในครอบครอง ยิ่งทำใหมันลึกลับมากยิ่งขึ้น

กะโหลกแก้ว ที่เป็นที่รู้จักดีนั้นแบ่ง ได้ 5 ส่วนคือ


มีความเชื่อว่ากะโหลกแก้วเหล่านี้ถูกสร้างโดย ชนเผ่าโบราณที่มีอารยธรรม และเทคโนโลยี่ที่ก้าวหน้าเป็นอย่างมากของชนเผ่าที่สาบสูญ เช่น ชาวมายา ชาวแอซแท็คส์ โดย พวกนักบวช พ่อมด หรือหมอผี หรือบ้างมีความเชื่อถึงว่ามันไม่ใช่ วัตถุจากโลกนี้ เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม การร่ายเวทมนต์ คาถา ในการรักษาเยียวยา การไล่ภูตผี หรือ สาปแช่ง
  1. กะโหลกแก้วที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์อังกฤษ(British Museum)
  2. กะโหลกแก้วที่เก็บรักษาไว้ที่สถาบันสมิธโซเนียน(Smithsonian Institution) ใน วอชิงตัน ดีซี
  3. กะโหลกแก้วที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Musée Quai Branly ในปารีส
  4. กะโหลกแก้วที่โด่งดังที่สุดคือ กะโหลกแก้วของ มิเชลล์ เฮดจ์ส(Mitchell - Hedges ภาพจั่วหัว กะโหลกแก้วอันนี้เป็นกะโหลกแก้วอันแรกที่ถูกกล่าวอ้างว่ามีการค้นพบในซากโบราณสถาน ในการค้นพบครั้งแรกค้นพบเฉพาะส่วนบน ส่วนขากรรไกรหายไป และต่อมาจึงมีการค้นพบขากรรไกร ไม่ห่างจากกันไม่มากนัก )
  5. และสุดท้ายคือ กะโหลกแก้วในคอเลคชั่ส่วนตัวของนักสะสมอิสระ

ภาพกะโหลกแก้วของ พิพิธภัณฑ์ Musée Quai Branly ในปารีส

ผลการพิสูจน์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ กะโหลกแก้ว

ผลการพิสูจน์นี้เป็นของ กะโหลกแก้ว นี้เป็นผลการพิสูจน์กะโหลกแก้วของพิพิธภัณฑ์อังกฤษ และกะโหลกแก้วของสถาบันสมิธโซเนียน เท่านั้น ไม่ครอบคลุมไปถึงกะโหลกแก้วอันอื่น
  • ผลกการพิสูจน์พบว่า กะโหลกแก้ว นี้ถูกสร้างด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นฝีมือการสร้างโดยชนเผ่าโบราณอย่าง มายา(Mayans) หรือ แอซแท็คส์(Aztecs) ในอเมริกากลาง
  • การทดสอบ และพิสูจน์นี้ทำโดย มาร์กาเร็ท แซ็ก(Margaret Sax) จากพิพิธภัณฑ์อังกฤษ และศาสตราจารย์ Ian Freestone จากมหาวิทยาลัย Cardiff
  • ทีมวิจัยได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ส่องดูพื้นผิวของกะโหลกแก้ว พบร่องรอยการขัดแต่งมีลักษณะเป็นเส้นแนวคมชัด และเป็นแถวแนวขนานกัน ซึ่งเป็นลักษณะของเครื่องขัดจานหมุน(Spinning disc-shaped tool) ที่ทำจากโลหะ โดยมีการเพิ่มพวกกากอัญมณีเข้าไปที่ใบขัด เพื่อความง่ายในการขัดแต่งชิ้นงาน
  • เป็นไปไม่ได้เลยที่ ในสมัยที่ชนเผ่ามายา และ แอซแท็คส์ อยู่นั้นจะมีเทคนิคที่จะได้คุณภาพงานเช่นนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากหลักฐานที่ค้นพบ ชาวแอซแท็คส์นั้นใช้เครื่องมือที่ทำจาก หิน และไม้
  • สำหรับหัวกะโหลกแก้ว จาก พิพิธภัณฑ์อังกฤษ เมื่อทำการทดสอบด้วยการ X-ray diffraction กับพบสิ่งที่ใช้ขัดนั้นเป็นพวก กากเพชร หรือกากพลอย
  • แต่สำหรับหัวกะโหลกแก้ว จาก สถาบันสมิธโซเนียน เมื่อทำการ X-ray diffraction กับพบวัสดุที่เรียกว่า Carborundum โดย Carborundum นี้เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่พึ่งมีใช้ในศตวรรษที่ 20 นี้เอง ซึ่งหมายความกะโหลกแก้วของ สถาบันสมิธโซเนียน คาดว่าจะสร้างขึ้นในช่วง ไม่นานไปกว่าปี 1950

ภาพหัวกะโหลกของสถาบันสมิธโซเนียน จะมีลักษณะแปลกกว่ากะโหลกแก้วอันอื่นคือ มันถูกสร้างด้วยแก้วขุ่น และมีน้ำหนักมาก


ภาพพื้นผิวของกะโหลกแก้ว ของ สถาบันสมิธโซเนียน จะเห็นรอยขัดเป็นแนวจากเครื่องขัดสมัยใหม่

ภาพผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ของ กะโหลกแก้วจาก พิพิธภัณฑ์อังกฤษ


ภาพ กะโหลกแก้ว ด้านหน้า จาก พิพิธภัณฑ์อังกฤษ มันปรากฏขึ้นครั้งแรกที่ร้านขายวัตถุโบราณในปารีส ของ Eugène Boban ในปี 1881 โดยไม่ทราบแหล่งที่มาแน่ชัด เขาพยายามจะขายมันให้แก่ พิืพิธภัณฑ์แห่งชาติของเม็กซิโก เหมือนวัตถุโบราณอื่นของ แอซแท็คส์(Aztec) แต่ไม่ประสบณ์ความสำเร็จ


ต่อมา Eugène Boban ได้ย้ายมาเปิดกิจการที่ นิวยอร์ค และได้ขาย กะโหลกแก้วอันนี้ให้แก่ George H. Sisson มันได้ถูกนำไปจัดแสดงในงาน American Association for the Advancement of Science ในนิวยอร์ค ในปี 1887


ต่อมามันถูกประมูลไปโดย Tiffany and Co ซึ่งต่อมาได้ขายต่อกะโหลกแก้วนี้ให้แก่ พิพิธภัณฑ์อังกฤษ ในปี 1897 โดย กะโหลกอันนี้ค่อนข้างคล้ายคลึงกับกะโหลกแก้ว Mitchell-Hedges เพียงแต่มีรายละเอียดน้อยกว่า และไม่สามารถถอดขากรรไกร


ทางพิพิธภัณฑ์อังกฤษได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับต้นกำเนิดของกะโหลกแก้วนี้ไว้ว่า
"ดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้ที่กระโหนกนี้จะสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 19 และมันไม่ใช่วัสถุที่สร้างในยุคพรี-โคลัมเบียน(pre-Columbian คือ ยุคก่อนการค้นพบของโคลัมบัส) มันถูกสร้างด้วยเครื่องมือสมัยใหม่"


ภาพพื้นผิวของ กะโหลกแก้ว ของ พิพิธภัณฑ์อังกฤษ จะเห็นได้ชัดเจนว่า รอยการขัดนั้นเป็นเส้นตรงคมเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีระเบียบ ซึ่ง เป็นลักษณะของการถูกขัดด้วย เครื่องเจียรสมัยใหม่


เนื้อคริสตัล ของแต่ละแหล่งจะมีลักษณะเฉพาะจากส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่า มีผลึกสีเขียวที่มีการเรียงตัวคล้ายตัวหนอน มันคือ แร่เหล็กที่มีครอไรท์สูง(ron-rich chlorite) ซึ่งเป็นลักษณะของแร่ควอทซ์ จากเหมืองในประเทศ บราซิล หรือ มาดากัสการ์ เท่านั้น ซึ่งเหมืองทั้งสองแหล่งนี้พึ่ง เริ่มทำกันในยุคศตวรรษที่ 18 มานี้เอง จึงเป็นไปไม่ได้ที่กะโหลกนี้จะถูกสร้างโดย ชาวมายา หรือ แอซแท็คส์

ข้อมูลอ้างอิง กะโหลกแก้ว