นาซ่า ต้องอายม้วน

นาซ่า ต้องอายม้วน

NASA นาซ่า ต้องอายม้วน นี้คือความรู้สึกของผมเมื่อได้รู้ว่าภาพชุดต่อไปนี้ได้จากกล้องดิจิตอลราคาประมาณ 1,600 บาท ที่ติดตั้งไปกับบอลลูน ที่ถ่ายจากระดับความสูง ที่สุดชั้นบรรยากาศของโลก

คลังรูปภาพ ถ่ายจากสุดขอบชั้นบรรยากาศ ด้วยกล้องราคา พันหกร้อยบาท



ภาพถ่ายฟาร์มในแคลิฟอร์ิเนีย ขณะ ที่บอลลูนกำลังลอยขึ้น


ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้องราคา พันหกร้อยบาท ที่ระดับความสูง 37.5 กิโลเมตร เหนือ อ่าวแคลิฟอร์เนีย แปซิฟิก (Californian Pacific coast)


น่าทึ่งในความสามารถของกล้องดิจิตอลสมัยนี้จริงๆ

รายละเอียดเกี่ยวกับ อย่าหมิ่นเงินน้อย

  • ภาพถ่ายชุดนี้ถ่ายโดย นายคอลิน ริช(Colin Rich) นักดาราศาสตร์สมัครเล่น
  • กล้องที่ใช้บันทึกภาพเป็นกล้องราคาประมาณ 1,600 บาท ( 30 ปอนด์ ) ที่ซื้อจากเว็บ ebay ที่ติดตั้งไว้บนบอลลูน
  • ภาพบางภาพถ่ายจากระดับความสูงถึง 37.5 กิโลเมตร หลายคนอาจจะนึกไม่ออกว่าสูงขนาดไหน ก็ประมาณ 4 เท่าของความสูงเพดานบิน ของ เครื่องบินจัมโบ้เจ็ต
  • ในขณะที่ นาซ่า ( NASA ) ทุมงบประมาณไปนับ เป็น ร้อยล้าน พันล้านปอนด์ ในแต่ละปีสำหรับใช้ในโครงการดาวเทียมต่างๆ ของตน
  • บอลลูนถ่ายภาพนี้มีชื่อเก๋ๆว่า Pacific Star 2
  • แรงจูงใจให้นายคอลิน ริช ทำโครงการนี้เกิดจากช่างภาพนามว่า โรเบิร์ต ฮาร์ริสัน(Robert Harrison) ที่ส่งบอลลูนขึ้นบันทึกภาพถ่ายที่ระดับความสูง 34.8 กิโลเมตร เมื่อเดือนตุลาคม 2008 และนายคอลิน ริช ก็ตัดสินใจว่าเขาจะต้องบันทึกภาพให้ได้ดีกว่า สูงกว่า ที่ โรเบิร์ต ฮาร์ริสัน ทำได้
วิธีการสร้างบอลลูนบันทึกภาพ แบบ ต้นทุนต่ำ แต่ประสิทธิภาพสูง

  • ใช้ กล้องดิจิตอล อายุ 5 ปี ยี่ห้อ Canon รุ่น Powershot A560 โดยกล้องจะถูกตั้งโปรแกรมให้บันทึกภาพอัตโนมัติ ตามระยะเวลาที่กำหนด
  • กล้องถูกห่อด้วยโฟม สไตโรโฟม(Styrofoam) หลายคนอาจจะคิดว่ามันคงเป็นโฟมพิเศษ ราคาแพงโคตรๆ รับรองว่าคิดผิดเนื่องจาก สไตโรโฟม ก็คือโฟมแบบเดียวกับ กล่องข้าวที่บ้านเราใช้ใส่ กระเพราไก่ไข่ดาวโฟมทำหน้าที่ปกป้องกล้อง จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นด้านบน
  • พันทับรอบ สไตโรโฟมด้วยผ้าเทป( duct-tape ก็เทปที่ใช้ติดสันรายงานตอนเด็กๆ )
  • เมื่อเสร็จสรรพก็แขวนมันกับบอลลูนตรวจสภาพอากาศ ตัวบอลลูนทำจากยางลาเท็ก(Latax) บรรจุด้วยก๊าซฮีเลียม(Helium) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.9 เมตร
  • บอลลูนถูกปล่อยขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2010 ที่เมือง Oxnard รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • บอลลูนลอยขึ้นไปอัตราประมาณ 31.5 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง บอลลูนก็จะลอยถึงชั้น สตราโตสเฟียร์(Stratosphere ชั้นบรรยากาศชั้นสุดท้ายของโลก หลุดออกจากชั้นนี้ก็จะเป็นอวกาศ)
  • เมื่อบอลลูนลอยถึงระดับความสูงที่ 37.5 กิโลเมตร บอลลูนจะปริขยายใหญ่ขึ้นถึง 7 เท่ามีความกว้างถึง 7.2 เมตร กลายเป็นร่มชูชีพเพื่อใช้ในการพากล่องโฟม และกล้อง ค่อยๆดิ่งลงมา โดยสถานที่ตกนั้นห่างจากจุดปล่อยตัวประมาณ 32 กิโลเมตร และคอลินจะแกะรอยหา กล้อง ด้วยระบบ GPS
  • โครงการนี้ใช้งบประมาณรวม 26,500 บาท กับเวลาในการประดิษฐ์เครื่องมืออุปกรณ์ประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับภาพถ่ายในลักษณะเดียวกันที่นาซ่าถ่ายได้ งบประมาณที่ทุมลงไปนั้นเทียบกันไม่ได้เลย

หน้าตาของ Pacific Star 2 ด้านซ้าย คือกล้องราคา พันหกร้อยบาท กล่องส้มๆก็คือ โฟมที่เป็นเกราะป้องกันความเย็นให้แก่กล้อง

ข้อมูลอ้างอิง นาซ่า ต้องอายม้วน