น้ำร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย เป็นอีกสำนวนที่ให้ความรู้สึกขัดใจจริงๆ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็เห็นกันอยู่ว่า ถ้าเอาปลาไปต้มมันก็ตายแน่ๆ แล้วที่มาที่ไปมันเป็นอย่าง ทำไมจึงเป็นเช่นนี้
ไข สำนวน น้ำร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย
- น้ำร้อน น้ำเย็นในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงอุณหภูมิของน้ำ
- แต่มันเป็นการเปรียญเทียบถึงอุปนิสัยของปลาที่ชอบ หลบอยู่ในบริเวณใต้สิ่งของที่ลอยอยู่ใน หรือร่มเงา เช่นใต้ร่มไม้ ใต้ท่าน้ำ ใต้แพผักบุ้ง เนื่องจากสัญชาติญาณของปลา จะกลัวการตกเป็นเหยื่อจาก นกนักล่า ที่จะบินลงมาจิกกินพวกมันจากด้านบน
- ในสมัยก่อน คนไทยมักจะปลูกเรือนอยู่ริมน้ำ หน้าบ้านจะมีท่าน้ำ ไว้สำหรับจอดเรือ ข้างท่าน้ำมักจะมีการปลูกแพผักบุ้ง(ไว้จิ้มน้ำพริก) ซึ่งใต้แพผักบุ้งก็จะมีปลาอยู่ชุกชุม ซึ่งง่ายในการจับมาปรุงอาหาร กว่าปลาที่ว่ายอยู่กลางแม่น้ำมาก
- คนโบราณจึงเปรียบเทียบ ปลาที่ว่ายอยู่กลางแจ้ง เหมือนว่ายตากแดด น้ำบริเวณนั้นย่อมร้อน จึงเปรียญเป็น น้ำร้อน
- คนโบราณจึงเปรียญเทียบ ปลาที่ว่ายอยู่ใต้แพผักบุ้ง เหมือนปลากำลังว่ายหลบแดด น้ำบริเวณนั้นย่อมเย็น จึงเปรียญเป็น น้ำเย็น
- ทั้งหลายทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของ สำนวน น้ำร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย