รวมรูประเบิดมือ แบบต่างๆ

รวมรูประเบิดมือ จรวด แบบต่างๆ

กำเนิดระเบิดมือนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าคงมีใช้ในประเทศจีนเป็นประเทศแรกเนื่องจากเป็นชาติแรกที่ค้นพบ และนำดินปืนไปใช้งาน แต่ลักษณะระเบิดมือในช่วงแรกจะ ใช้ภาชนะขนาดเหมาะมือ น้ำหนักเบา บรรจุวัตถุติดไฟ สารระเบิด หรือสารพิษ
ระเบิดมือในสมัยโบราณ ตัวระเบิดทำมาจากกระดาษ กระเบื้อง หรือแก้ว และบรรจุสารอันตรายต่างๆ ตั้งแต่พิษจากพืช พิษจากสัตว์ กรด ปิโตรเลียม ดินปืน หรือแม้กระทั่งวัตถุที่ได้จากพิธีทางไสยศาสตร์
อย่างไรก็ตาม ระเบิดมือในยุคเก่ายังไม่สู้จะมีประสิทธิภาพนัก ที่ปรากฏบทบาทโดดเด่นก็คือ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ระเบิดมือที่มีชื่อเสียงในช่วงนั้น คือ ระเบิดมิลส์ (Mills)

รูปซ้าย ระเบิดมิลส์ ในยุคแรก ที่ออกแบบโดย วิลเลียม มิลส์ (William Mills) และได้มีการพัฒนาและผลิตในเชิงอุตสหกรรมที่โรงงาน Mills Munition Factory ที่เมือง Birmingham ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1915.
รูปกลาง และรูปขวา ภาพตัด และรูปแบบการทำงานของระเบิดมิลส์

ระเบิดมิลส์ (Mills)เป็นระเบิดมือแบบแตกกระจายรุ่นแรกในยุคใหม่ และใช้ในกองกำลังแนวหน้าของอังกฤษ ระเบิดมิลส์นั้นเป็นระเบิดที่มีโลหะห่อหุ้ม มีเข็มแทงชนวน และพื้นผิวเป็นร่อง นิยมเรียกกันในภาษาไทยว่า ระเบิดน้อยหน่า โดยมีพัฒนาต่อมาอีกยาวนาน
ขณะที่อังกฤษมีระเบิดมิลส์นั้น เยอรมันก็ได้พัฒนาระเบิดขว้างแบบแท่ง ขึ้นมา เรียกว่า ระเบิดมือแบบแท่ง (Stielhandgranate)


รูปซ้าย ระเบิดมือแบบแท่ง (Stielhandgranate) ของเยอรมัน รุ่น Model 24
รูปกลาง ตัดระเบิดมือแบบแท่ง (Stielhandgranate) ของเยอรมัน รุ่น Model 24
รูปขวา ทหารเยอรมัน กำลังขว้าง ระเบิดมือแบบแท่ง (Stielhandgranate) Model 24 ในสงครามกับรัสเซียปี 1941

ระเบิดมือแบบแท่ง (Stielhandgranate)โดยมีเชื้อประทุห่อหุ้มอยู่ในกระบอกโลหะ และติดไว้กับแกนไว้สำหรับขว้าง ระเบิดชนิดนี้มีใช้ทั้งในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และครั้งที่สอง ถัดมาได้มีการพัฒนาระเบิดมืออีกรุ่นหนึ่ง เรียกว่า โมโลตอฟ คอกเทล (Molotov cocktail)


รูป โมโลตอฟ คอกเทล (Molotov cocktail)
โมโลตอฟ คอกเทล (Molotov cocktail) เป็นระเบิดมือได้คล้ายกับระเบิดขวด ที่ใช้ขวดแก้วบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง แล้วชุดชนวนแถบผ้าให้ระเบิด ระเบิดแบบนี้ใช้ครั้งแรกในกองทัพฟินแลนด์ ซึ่งมีอุปกรณ์ที่ไม่ก้าวหน้านัก เมื่อครั้งต่อสู้กับกองทัพโซเวียตในช่วงสงครามฤดูหนาว เมื่อค.ศ. 1939

หลักการพื้นฐาน ระเบิดมือ
หลักการพื้นฐานของลูกระเบิดมือนั้นง่ายมาก โดยภายในลูกระเบิดมือจะบรรจุสารระเบิด พวกดินปืน หรือ ไนโตรกลีเซอรีน ฯลฯ เป็นต้น สารระเบิดเมื่อได้รับการจุดระเบิด จากระบบจุดระเบิด สารระเบิดจะระเบิดตัวเองอย่างรุนแรง
ระบบจุดระเบิดมีมากมายหลากหลายประเภท แต่แยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
1. Time delay grenade(ไทม์ดีเลย์ กรีเนท) ลูกระเบิดแบบหน่วงเวลา

คลิปวีดีโอ (Clip VDO) ระบบจุดระเบิดแบบหน่วงเวลา

2. Impact grenade (อิมแพคกรีเนท) ลูกระเบิดแบบกระแทก

คลิปวีดีโอ (Clip VDO) ระบบจุดระเบิดแบบกระแทก

คลังภาพ ระเบิดมือ
คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่


อ้างอิง ระเบิดมือ
http://en.wikipedia.org/wiki/Mills_bomb
http://www.inert-ord.net/brit/mills/index.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Molotov_cocktail
http://en.wikipedia.org/wiki/Stielhandgranate
http://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci2/grenade/grenade.htm

บทความที่เกี่ยวข้อง
โครตเจ้าพ่อ อัล คาโปน
ประมวลภาพ 7 ตุลา 51
ปืนที่ใช้สังหาร ลินคอร์น