ธรรมดาเลนส์ที่ใช้สำหรับกล้องถ่ายรูปทั่วไปจะเป็นเลนส์นูน เพื่อรวมแสงเข้าสู่จุดโฟกัส แต่นักวิจัยได้ประดิษฐ์เลนส์เรียบที่บางเฉียบ แถมยังสามารถถ่ายรูปได้อย่างไร้ที่ติไม่มีการบิดเบี้ยวแม้แต่น้อย
รายละเอียด
- เลนส์เรียบ(Flat lans) นี้เป็นผลงานการพัฒนาของทีมนักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด(Harvard) เลนส์เรียบนี้มีความหนาเพียง 60 นาโนเมตร ที่สามารถโฟกัสแสงได้โดยไม่เกิดการบิดเบี้ยว
- เลนส์เรียบนี้จะนำมาซึ่งการปฏิวัติกล้องถ่ายรูปครั้งยิ่งใหญ่ในอนาคต โดยต่อไปเลนส์จะไม่ต้องพึ่งไม่ต้องการลำกล้องยาวสำหรับซูมเข้าซูมออกอีกต่อไป ไม่จำเป็นต้องใช้ชุดเลนส์หลายอันอีกต่อไปโดยชุดเลนส์เหล่านั้นจะถูกยุบรวมสู่เลนส์เรียบเบาเฉียบเพียงอันเดียว
- เลนส์เรียบนี้น่าทึ่งอย่างมากเนื่องจากมันได้ข้ามขีดจำกัดทางฟิสิกส์ของแสงเดิมๆที่ใช้สร้างเลนส์แบบเดิมโดย เมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์นูน เนื้อเลนส์จะมีความหนาไม่เท่ากันจะก่อให้เกิดการหักเหของแสงที่ไม่เท่ากันไปตัดกันในตำแหน่งจุดโฟกัส แต่เลนส์เรียบไม่สามารถทำอย่างนั้นได้เพราะแสงจะวิ่งเป็นเส้นตรงออกเหมือนตอนขาเข้ามันจึงไม่สามารถรวมแสง
- ทีมมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จึงทำการแก้ปัญหานี้โดย ทำการชุบแผ่นซิลิคอนเวเฟอร์(wafer of silicon) ด้วยชั้นทองคำที่หนาเพียงนาโนเมตรเท่านั้น จากนั้นก็ทำการลอกชั้นทองคำออกเหลือทิ้งไว้เฉพาะชุดโครงสร้างรูปตัววี(V-shape)ที่มีระยะห่างเท่าๆกัน โดยโครงสร้างรูปตัววีที่มีรูปร่างแตกต่างกันจะทำหน้าที่จับและหน่วงแสงให้เดินทางแผ่นเลนส์ช้าเร็วต่างกันทำให้แสงเกิดการหักเหขึ้น
- ในอนาคตเราอาจยุบชุดเลนส์หลายๆอัน โดยการสร้างชุดโครงสร้างรูปตัววีหลายแบบร่วมกันให้ทำงานได้เสมือนชุดเลนส์หลายๆอัน
ภาพนี้คือเลนส์เรียบที่มี ชุดโครงสร้างรูปตัววีหลายแบบ
โดยแต่ละเแบบจะถูกแทนด้วยเฉดสีที่ต่างกัน
และแต่ละเฉดสีจะทำให้เกิดการหักเหของแสงด้วยมุมที่ต่างกันดูได้จากแถบด้าน
ขวามือ
- http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-2196313/Who-needs-zoom-Photography-revolution-Harvard-creates-flat-lens-does-away-curved-glass.html