เบาะแส ผลงานภาพสงครามแห่งอังกีอารี ที่ สาบสูญ ของ ดาวินชี่ (Battle of Anghiari of Da Vinci )

ผลงานที่สาบสูญ

เราอาจจะกำลังค้นพบผลงานจิตรกรรมฝาผนังที่สาบสูญของ ดาวินชี่ เมื่อมันถูกซ่อนไว้ในสถานที่มีผู้คนมากมายผ่านไปมา แต่ไม่เคยมีใครรู้ว่ามันหลบซ่อนอยู่ ณ ที่แห่งนี้

รายละเอียด

  • ปัจจุบันภายในโถงของพระราชวังเวคคิโอ(Palazzo Vecchio) มีภาพวาดสีปูนเปียก(Fresco)ที่ชื่อว่า สงครามแห่งอังกีอารี(The Battle of Anghiari) ที่เป็นผลงานงานวาดโดยจิออร์จิโอ วาซารี(Giorgio Vasari) ที่วาดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 16
  • แต่ ตามประวัติศาสตร์ในปี 1503 ดาวินชี่ ได้รับการว่าจ้างจาก Gonfaloniere Piero Soderini เพื่อมาทำการวาดภาพสงครามแห่งอังกีอารี ในห้องโถงพระราชวังเวคคิโอ แล้วทำไมในปัจจุบันภาพสงครามแห่งอังกีอารีจึงเป็นผลงานของ จิออร์จิโอ วาซารี แล้วผลงานต้นฉบับของ ดาวินซี่ สาบสูญไปไหน นี้คือปริศนาที่นักประวัติศาสตร์ ต้องการจะคลี่คลาย
  • และในปี 2012 อาจจะเป็นการสิ้นสุดการค้นหาผลงานที่สาบสูญนี้ เมื่อทีมสำรวจที่นำโดย Maurizio Seracini ได้ประกาศว่าพบหลักฐานสำคัญว่าผลงานภาพสงครามแห่งอังกีอารีฝีมือของดาวินชี่ อาจจะซ่อนอยู่ด้านหลังภาพสงครามแห่งอังกีอารีฝีมือของออร์จิโอ วาซารี นี้เอง
  • จากเบาะแส และร่องรอยอาทิเช่นบนภาพสงครามแห่งอังกีอารีฝีมือของออร์จิโอ วาซารี มีข้อความว่า "Cerca trova" ("seek and you shall find" "จงค้นหา และคุณจะพบ")บนผืนธงสีเขียวที่ทหารคนหนึ่งถืออยู่ในภาพ มันจะเป็นเบาะแสที่ จิออร์จิโอ วาซารี ทิ้งบอกใบ้ว่า ค้นหาอะไรแล้วพบอะไรสิ่งนั้นจะเป็น ผลงานต้นฉบับของดาวินซี่หรือเปล่า?
  • ความเป็นไปได้นั้นเป็นไปได้สูง ในเมื่อ จิออร์จิโอ วาซารี ผู้ซึ่งชื่นชมในผลงานของ ดาวินชี่ นั้นทำให้เขาคงจะไม่ทำลายผลงานต้นฉบับของ ดาวินชี ที่เขาชื่นชมลง ในครั้งที่เขาเข้ามาบูรณะโถงแห่งนี้
  • จึงได้มีการใช้การสำรวจโดยไม่ทำลายโดยใช้เทคนิค คลื่นความถี่สูง(high-frequency) การตรวจสอบพื้นผิวด้วยเรดาร์(surface-penetrating radar) กล้องถ่ายภาพความร้อน(thermographic camera) สำรวจทั่วทั้งโถง ทำให้พบว่าบริเวณภาพสงครามแห่งอังกีอารีฝีมือของออร์จิโอ วาซารี นั้นมีการสร้างเป็นผนังสองชั้นโดยระหว่างผนังด้านหน้า กับผนังด้านหลังมีช่องว่างเล็กๆขนาด 1-3 เซ็นติเมตร
  • จากเบาะแสนี้มันมีน้ำหนักเพียงพอจะให้ในปี 2007 คณะกรรมการเมืองฟลอเรนซ์(the city council of Florence) และ รัฐมนตรีวัฒนธรรมของอิตาลี อนุญาตให้ทำการสำรวจอย่างจริงจังในเรื่องนี้ และในปี 2011 ได้มีการเจาะรูเล็กผ่านภาพสงครามแห่งอังกีอารีผลงานของ จิออร์จิโอ วาซารี ในตำแหน่งที่เคยเสียหายในอดีตและได้ทำการบูรณะขึ้นมาใหม่
  • ได้มีการสอดกล้อง(endoscopic probe) ผ่านเข้าไปทางรูที่เจาะ และทางทีมสำรวจได้ค้นพบเศษผงสี และสิ่งที่บ่งชี้ว่าด้านในนั้นมีพื้นผิวของภาพวาดสีปูนเปียก
  • จากการนำผงสีไปตรงจสอบ พบว่าผงสีที่พบอยู่ในผนังด้านหลัง มีส่วนผสมทางเคมีคล้ายกับ สีเคลือบเงาที่ใช้บนภาพ โมนาลิซ่า
  • หลายคนอาจจะสงสัย แล้วทำไม ออร์จิโอ วาซารี จึงต้องมาวาดภาพทับผลงานของดาวินชี่ สาเหตุมาจาก ดาวินชี่วาดผลไม่ไม่เสร็จสมบูรณ์ ดาวินชี่เพียงแค่วาดภาพร่างเสร็จเท่านั้น และพึ่งเริ่มการลงสี แต่ระหว่างการสร้างภาพสีปูนเปียกนั้นเกิดมีพายุฝนทำให้อากาศมีความชื้นสูงทำให้สีที่วาดไปเยิ้มผสมกันจนเสียหาย กรปรเวลานั้น ดาวินชี่ ถูกเรียกตัวไปทำสุสานของสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 จากทางกรุงโรม ดาวินชี่ จึงหันไปสร้างสุสานแทน
คลังภาพ

ภาพภาพสงครามแห่งอังกีอารี ผลงานของ ออร์จิโอ วาซารี ณ ผนังของพระราชวังเวคคิโอ

ภาพภาพสงครามแห่งอังกีอารี ผลงานของ ออร์จิโอ วาซารี จะมีธงที่มีข้อความว่า "CERACA TROVA" แปลได้ว่า จงค้นหา แล้วคุณจะพบ (โดยส่วนตัว Admin DEN สงสัยจังว่าทำไมในยุคศตวรรษที่ 16 ออร์จิโอ วาซารี คิดอย่างไรแล้วเขามันใจว่ามันจะมีเทคโนโลยี่อะไรที่จะทำให้มองทะลุผนังปูนเข้าไปได้ ถ้าเป็นเทคโนโลยีในยุคนั้น การจะหาเจอผลงานของดาวินชี่ คือ การทำลายผลงานของเขาลงเท่านั้นถึงจะพบ นั้นแสดงว่า ออร์จิโอ วาซารี คิดว่าผลงานของ ดาวินชี่ นั้นมันล้ำค่ามากมายกว่าของเขายิ่งนัก )

ภาพภาพสงครามแห่งอังกีอารี ฝีมือของ ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ (Peter Paul Rubens) ที่ได้ทำการเลียนแบบผลงานอขงดาวินชี่ และคาดว่าผลงานต้นฉบับของดาวินชี่มีลักษณะประมาณนี้


ภาพสเกตส์ ผลงานของดาวินชี่ ที่ร่างภาพการรบบนหลังม้า และเหล่าทหารเดินเท้า สำหรับใช้ในการเขียนภาพ ภาพสงครามแห่งอังกีอารี

ภาพกำลังส่องกล้องผ่านภาพสงครามแห่งอังกีอารี เพื่อ ค้นหาผลงานของดาวินชี่

ข้อมูลอ้างอิง

  • http://en.wikipedia.org/wiki/The_Battle_of_Anghiari_%28painting%29
  • http://www.telegraph.co.uk/culture/art/leonardo-da-vinci/9140337/Leonardo-da-Vincis-Battle-of-Anghiari-nothing-to-find-but-disappointment.html
  • http://www.bluelyn.com/2012/03/13/battle-of-anghiari-of-da-vinci/
  • http://www.wired.com/culture/art/news/2007/10/lost_fresco