คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน รุ่นใหม่ อาจจะเป็นการจบยุค ซิลิคอน(Silicon) และเป็นการก้าวสู่ยุค กราฟีน(Graphene) เมื่อนักวิจัยพบว่า อิเล็กตรอน สามารถเคลื่อนที่ผ่าน กราฟีน ได้เร็วกว่าเคลื่อนที่ผ่าน ซิลิคอน ที่เป็นสารที่ใช้ทำ ชิป(Chip) ในปัจจุบัน มาก
รายละเอียด
- กราฟีน คืน สารที่ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนเรียงตัวกันแบบสองมิติ เป็นรูปตาข่ายรวงผึ้ง โดยมีความหนาเพียง 1 อะตอม จึงทำให้มันเป็น สารที่บางที่สุดในโลก
- กราฟีน ไม่เพียงแต่จะเป็นการปฏิวัติ วงการ เซมิคอนดักเตอร์(semiconductor), เซ็นเซอร์ และเทคโนโลยีการแสดงผล แต่ยังอาจนำไปสู่นวัตกรรมการวิจัย ฟิสิกส์ควอนตัมพื้นฐาน ด้วย
- กราฟีน ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย แมนแชสเตอร์ นามว่า Andre Geim และ Konstantin Novoselov ในปี 2004 โดยเริ่มแรกพวกเขา ได้ใช้ สก็อตเทปทำการลอกคาร์บอน ออกจากแท่งกราไฟท์(graphite) และทำให้เหลือคาร์บอนหนาเพียง 1 อะตอม ทำให้ได้แผ่นฟิลม์คาร์บอนที่มีโครงสร้างสองมิติ ที่ถูกเรียกขานว่า "กราฟีน" การจากผลงานการบุกเบิกค้นพบ กราฟีน นี้ทำให้ทั้งสองได้รับ รางวัลโนเบล สาขา ฟิสิกส์ ในปี 2010
- และงานวิจัยล่าสุดได้เผยว่า อิเล็กตรอน สามารถเคลื่นที่ผ่านสารที่บางกว่าได้ดีกว่า สารที่หนา กว่า
- ศาสตราจารย์ Kostya Novoselov จึงทำการทดลอง ดูการเคลื่อนที่ของ อิเล็กตรอน ผ่าน กราฟีน ที่ถูกแขวนอยู่ในหลอดสูญญากาศ สิ่งที่พบคือ อิเล็กตรอนสามารถเดินทางผ่าน กราฟีน ได้รวดเร็วกว่า ซิลิคอน มาก
- เมื่อรวมกับคุณสมบัิติที่ กราฟีน นั้นเบากว่า แข็งแรงกว่า และยืดหยุ่นได้ดีกว่าซิลิคอน ทำให้กราฟีน คือ วัสดุแห่งอนาคตในวงการอิเล็กโทรนิค ที่จะก้าวข้ามาแทนที่ ซิลิคอน ในอนาคต ซึ่งต่อไปเราอาจจะได้เห็นคอมพิวเตอร์ที่เป็นแผ่นบางๆ ที่สามารถโค้งงอได้เหมือนพลาสติกก็ได้ ในไม่ช้า
- http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-2018440/Worlds-thinnest-substance-graphene-power-generation-computers.html
- http://en.wikipedia.org/wiki/Graphene