มหาวิหารแพนธิออน กับ รู ปริศนา (Pantheon in Rome)

รู ปริศนา บน หลังคามหาวิหาร แพนธิออน

รู ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 ฟุต(9 เมตร) บนหลังคาโดมกลางมหาวิหารแพนธิออน ใน กรุงโรม นั่นเป็นปริศนามาเป็นเวลานาน บัดนี้นักประวัติศาสตร์คาดว่าสามารถคลี่คลายปริศนานี้ลงได้แล้ว ว่ามันมีไว้สำหรับทำอะไร

รายละเอียด


  • รู นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็น เป็นไฟสปอร์ตไลท์ธรรมชาติ สำหรับสาดส่องมายังองค์จักรพรรดิ์ เพื่อให้เกิดความน่าประทับใจ น่าตื่นใจ ในการปรากฎกาย ขององค์จักรพรรดิ์ขณะเมื่อท่านเสด็จมายังมหาวิหารในโอกาสพิเศษ
  • แน่นนอนเมื่อมีรูขนาดใหญ่บนหลังคา เมื่อฝนตกฝนก็ต้องรั่วเข้ามา แต่ สถาปนิกเมื่อ 2000 ปีที่แล้วก็ไม่ได้ละเลย จะสร้างรูเล็กที่พื้น เพื่อใช้เป็นทางระบายน้ำไว้ที่พื้น
  • ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รู บนหลังคานี้ยอมให้ลำแสง จาก ดวงอาทิตย์ ส่องผ่านเข้ามายังภายใน ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง กันยายน และยิ่งในวันที่ 21 เมษายน 753 ปีก่อนคริสตกาล ที่เป็นวันสถาปนา กรุงโรม และวันนั้นยังเป็น วันวิษุวัต (Equinox วันที่มีเวลากลางคืน และกลางวันยาวเท่ากัน) ด้วยองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์ของชาวโรมันโบราณ ที่ออกแบบรูบนหลังคาเป็นอย่างดี ทำให้ในวันวิษุวัต ลำแสงจากหลังคาจะยืดยาวลงมาเป็นพิเศษ โดยจะส่องลงมาจนถึง หน้าประตูที่จักรพรรดิ์ปรากฎตัว
  • ลองคิดดูว่าในยุค ที่ ผู้คนยังเชื่อในโชคลาง ผีสาง เมื่อประชาชน เห็นองค์จักรพรรดิ์ เสด็จเข้ามายังมหาวิหาร โดยมีลำแสงสุกสว่างส่องมาอาบทั่วพระวรกาย ปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติเช่นนี้ จะยิ่งตอกย้ำ และผลักดันสถานะพระองค์ ดุจดั่ง เทพพระเจ้าก็ไม่ปาน
  • ศาสตราจารย์ Giulio Magli จาก the Polytechnic of Milan กล่าวว่า ถึงในปัจจุบันเรายังไม่ทราบแน่นอนว่าทำไม หลังคาถึงต้องมี รู และมี รู เพื่ออะไร แต่เราเชื่อว่าพระอาทิตย์ นั้นมีบทบาทสำคัญสำหรับรูปแบบการก่อสร้างวิหาร เราพยายามหาข้อสรุปโดย ศึกษาอาคารอื่นๆอย่างเช่น the Domus Aurea ที่มีหลังคาในลักษณะเดียวกัน เราพบว่า พระอาทิตย์ นั้นเชื่อมโยงกับรูปแบบสถาปัตกรรม ของ ชาวโรมันโบราณ พวกเขาใช้องค์ความรู้ทางดาราศาสตร์ที่มี ในการสร้างรากฐานอันมั่นคง ของ อาณาจักร
ลองคิดดูว่า ถ้า ลำแสงขนาดใหญ่ดังภาพนี้ ส่องมายังองค์จักรพรรดิ์ อาบทั่วร่างเมื่อท่านปรากฎกาย ณ วิหา เมื่อกว่า 2000 ปี ที่แล้ว
ข้อมูลอ้างอิง

  • http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-2021133/Pantheon-Rome-actually-giant-sundial.html