เมื่อเห็นมันครั้งแรก หลายคนอาจจะคิดว่ามันเป็นปลาโลมาปกติ แต่ วินเตอร์ คือ ปลาโลมา ชีวกล(Bionic) ตัวแรกของโลก
รายละเอียด
- เมื่อ วินเตอร์(Winter) อายุได้เพียง 2 เดือน มันก็ต้องพบความสูญเสียครั้งยิ่งใหม่ เมื่อมันต้องสูญเสียแม่ของมัน พร้อมกับ หาง ของมันไปใน กับดักปู
- มันได้รับการช่วยชีวิต และนำมารักษาที่ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Clearwater Marine Aquarium
- ต่อมามันเรียนรู้ที่จะว่ายน้ำโดย ปราศจากหาง แต่ สัตแพทย์ก็กังวลว่าการว่ายน้ำลักษณะนี้จะทำให้กระดูกสันหลังของมันเสียหาย
- พวกเขาจึงหาทางแก้ไขโดย จะต้องสร้าง หางเทียม ให้แก่วินเตอร์ โดยไปขอความช่วยเหลือจาก นักวิทยาศาสตร์ชาวไอริส นามว่า Kevin Carroll และหุ้นส่วนทางธุรกิจ นามว่า Dan Strzempka ที่ประกอบธุรกิจ อวัยวะเทียม
- แต่การทำหางเทียมนั้นไม่เหมือนการทำแขน ขาเทียมในมนุษย์ เนื่องจากในมนุษย์การทำช่องสำหรับเสียบอวัยวะเทียมนั้นเชื่อมอยู่กระดูกเพียง 1 ท่อน แต่ในปลาหางเทียมจะต้องถูกเสียบเข้ากับกระดูกหลายท่อน(กระดูกสันหลัง) ทำให้ต้องมีจุดต่อที่เคลื่อนไหวได้รอบทิศทางจำนวนมาก
- หลังจากความเพียรพยายาม 18 เดือน เงินอีก 1.5 แสนปอนด์(7.5 ล้านบาท) และหางเทียมต้นแบบอีก 50 อัน หางเทียมซิลิโคน ขนาด 30 นิ้ว(0.75 เมตร) สำหรับ วินเตอร์ จึงประสบความสำเร็จ
- เนื่องจากผิวของ ปลาโลมา นั้นค่อนข้างอ่อนไหว จึงมีการคิดค้น เจลพิเศษ ขึ้นมาเพื่อป้องกันความระคายเคือง ในขณะสวมใส่ หางเทียม
- เจลพิเศษ นี้ยังถูกนำไปในมนุษย์ อย่างเช่น นาย Brian Kolfage ที่สูญเสียขาทั้งสองข้าง และมือขวาไปในอิรัก เมื่อร่างกายมีปริกริยาต่อต้านรุนแรงเมื่อสวมใส่ แขน ขาเทียม จนไม่สามารถใช้อวัยวะเทียมเหล่านั้นได้ แต่ เมื่อนำ เจลพิเศษ มาใช้เขาจึงสามารถสวมใส่ แขน ขาเทียมได้ในที่สุด
- เรื่องราวชีวิตของ วินเตอร์ ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์สามมิติ ที่จะออกฉายในเดือนตุลาคม 2011
วินเตอร์ เมื่อไม่ใส่หางเทียมมันจะว่ายน้ำตะแคงข้าง
นี้คือ หางเทียมซิลิโคน ของ วินเตอร์ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอีกเมื่อมันโตขึ้น
- http://www.dailymail.co.uk/news/article-2023523/World-s-bionic-dolphin-prosthetic-tail-life-story-turned-Hollywood-blockbuster.html