มดบินได้ ก็ไม่เห็นแปลกอะไร ก็เห็นกันอยู่ทั่วไปก็เห็นๆกันอยู่ แต่ ที่มันไม่ธรรมดา ก็เนื่องจากมดอเมซอนทำรังบนต้นไม้(Tree-nesting Ant) พวกนี้ไม่มีปีก แต่สามารถร่อนถลาลงพื้นได้ แถมกำหนดทิศทางได้ด้วยได้ซะด้วย
รายละเอียด
- มีการค้นพบสัตว์หลายชนิดที่ไม่ใช่ นก ที่สามารถ ร่อนถลาลมได้ อย่างเช่น งู กบ ปลา แต่ พวกมันล้วนมีอวัยวะพิเศษ ที่ใช้ช่วยในการร่อน
- แต่มี มดอยู่ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า มดอเมซอนทำรังบนต้นไม้(Tree-nesting Ant) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cephalotes atratus พวกมันไม่มีอวัยวะพิเศษสำหรับร่อน หรือบิน แต่พวกมันสามารถบินร่อนได้ด้วย ขาหลัง และร่างกายปล่องสุดท้าย
- และน่าประหลาดใจยิ่งขึ้นเมื่อพวกมันสามารถควบคุมทิศทางในการร่อนได้ ทำให้เมื่อพวกมันตกจากรัง พวกมันจะไม่ถูกพัดไปอย่างไรทิศทาง แต่จะตกลงตำแหน่งต้นไม้ที่เป็นที่ทำรังของพวกมัน
- นักวิจัยที่ค้นพบ ความสามารถในการ่อนของ มด พวกนี้คือ นาย Yonatan Munk จากมหาวิทยาลัยแคริฟอร์เนีย ใน Berkeley ที่ใช้เวลาถึง 4 ปี ท่องไปในป่าอเมซอน เพื่อทำการศึกษามดอเมซอนทำรังบนต้นไม้
- เขาได้ทำการออกแบบ อุโมงค์ลมแนวดิ่ง(Vertical wind tunels) ขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษา บันทึกภาพ เฝ้าติดตาม และวิเคราะห์ ท่วงท่าการร่อนของพวกมัน เพื่อหาไขปริศนาความสามารถในการบินร่อนของพวกมัน
- จากการศึกษาพบว่า โดยเมื่อมด หลุดร่วงลงมาจากที่สูง อย่างแรกพวกมันจะพลิกตัวคว่ำหน้าลงพื้นก่อน หลังจากนั้นจะเหยียดขากางออกพร้อมชูขึ้น ต่อด้วยการกดตูดลงต่ำ ทำให้เกิดท่วงท่าตามหลักอากาศพลศาสตร์(Aerodynamic)ที่สมบูรณ์แบบในการควบคุมการร่อน โดยไม่ต้องอาศัยแรงลมช่วยในการร่อน
- ลักษณะท่าทางเช่นนี้เหมือนกับ เหล่านัดดิ่งพสุธา ทำขณะอยู่ในอากาศ ขณะกระโดดร่ม
ข้อมูลอ้างอิง
- http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-2007644/Skydiving-ants-Amazon-direct-fall-using-rear-end.html