การตั้งครรภ์ ในอวกาศ คืออีกหนึ่งคำถามที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ ต้องการไขให้ได้ เพราะมันคืออีก 1 เงื่อนไขว่าเหล่ามนุษยชาติ จะสามารถออกเดินทางไปตั้งรกรากยังดาวอื่นได้หรือไม่ ?
รายละเีอียด
- ได้มีการทดลอง นำหนูตัวเมีย 16 ตัวขึ้นไปในอวกาศใน ภาระกิจ STS-131 ของนาซ่า เมื่อปี 2010 หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ หนูเหล่านั้นถูกตรวจพบว่า หนูเหล่านั้นเกิดสภาพรังไข่เหี่ยว(shrunken ovaries) , เซลล์ไข่ในรังไข่ตาย(ying ovarian follicles) , การลดลงของยีนควบคุมเอสโทรเจน(down-regulated oestrogen genes)
- นักชีววิทยา นามว่า Tamara Franz-Odendaal ได้ทำการทดลอง โดยการนำไข่ปลาม้าลาย(zebrafish) ใส่ลงในเครื่องเพาะเลี้ยง(bioreactor) แล้วทำการเหวี่ยงไข่เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนไร้น้ำหนัก แบบในอวกาศ โดยเริ่มหลังการปฎิสนธิ และช่วงการพัฒนาการของเซลล์กระโหลก neural crest ประมาณ 10-14 ชั่วโมง และหมุนต่อเนื่องเป็นเวลา 12-96 ชั่วโมง
- เมื่อปลาฟักตัวออกมา ทำการเปรียยเที่ยบระหว่างปลาที่ฟักตัวปกติ กับ ปลาที่ถูกปั่นในสภาพเสมือนไร้แรงดึงดูด พบว่า กระดูกส่วนที่รองรับเหงือกปลา(ถ้าเทียบกับกระดูกมนุษย์ ก็คือกระดูกส่วนกราม)เกิดการเปลี่ยนแปลง และเมื่อปลาโตขึ้นปลาประมาณครึ่งหนึ่งเกิดความผิดปกติของกระดูกฐานกะโหลกเกิดการบิดงอขึ้น
- ผลการทดลองของ Tamara Franz-Odendaal ที่งานประชุมทางวิชาการ the Society for Integrative Biology conference ใน เมืองSalt Lake รัฐUtah สหรัฐอเมริกา
- อย่างไรก็ตาม นาย Kenneth Souza นักวิทยาศาสตร์อวุโส ของ Dynamac Corporation ที่ช่วยงานทางองค์การนาซ่า ก็กล่าวว่า งานทอลองของ Tamara Franz-Odendaal การใช้เครื่องเพาะเลี้ยงปั่นให้เกิดสภาพเสมือนไร้แรงดึงดูดนั้นไม่เหมาะสม ย้อนไปเมื่อปี 1995 ได้มีการส่งปลา medaka ขึ้นไปในอวกาศ ปลาที่กลับลงมาก็ไม่เกิดสภาพพิกลพิการใดๆ
- แต่ทาง Tamara Franz-Odendaal ก็แย้งว่าการทดลองในปี 1995 นั้นไม่ได้ลงไปในรายละเอียดเช่นการทดลองของตนเอง และหวังว่าในปี 2015 จะมีการนำปลาม้าลายขึ้นไปทำการทดลองสภาพจริงในอวกาศ
- ฉะนั้น ตามที่บริษัทจัดท่องเที่ยวในอวกาศ และประกาศว่า การเดินทางนั้นไม่มีผลกระทบต่อ แม่ละเด็กในครรภ์นั้น ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างนั้นอย่างชัดเจน และมีแนวโน้มว่าจะไม่เป็นจริง
- http://www.newscientist.com/article/mg20927953.400-sex-and-space-travel-dont-mix.html