Final ในที่สุดก็เข้าสู่โค้งสุดท้าย ทีมกู้ภัยก็ใกล้จะประสบความสำเร็จ ในการเจาะอุโมงค์ เพื่อช่วยเหลือ คนงานเหมืองชาวชิลี 33 ชีวิต ที่ติดอยู่ใต้พื้นโลกที่ความลึกว่า ครึ่งกิโลเมตร เป็นระยะเวลากว่า 2 เดือน เร็วกว่ากำหนดที่ตั้งไว้ถึง 2 เดือน
รายละเอียด ภาระกิจกู้ชีพ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ เหมืองทองแดง ชื่อว่า San Jose ในเมือง Copiapo ประเทศชิลี ภาระกิจกู้ชีพครั้งนี้ เป็นภาระกิจที่ยิ่งใหญ่ ซับซ้อนที่สุดในโลก ในประวัติศาสตร์การทำเหมือง ขณะนี้เหลือความลึกในการเจาะอุโมงค์อีกเพียง 39 เมตร จากความลึกที่ต้องขุดเจาะถึง 624 เมตร
ภาพแสดงระยะเวลาในภาระกิจนี้
รายละเอียด ภาระกิจกู้ชีพ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ เหมืองทองแดง ชื่อว่า San Jose ในเมือง Copiapo ประเทศชิลี ภาระกิจกู้ชีพครั้งนี้ เป็นภาระกิจที่ยิ่งใหญ่ ซับซ้อนที่สุดในโลก ในประวัติศาสตร์การทำเหมือง ขณะนี้เหลือความลึกในการเจาะอุโมงค์อีกเพียง 39 เมตร จากความลึกที่ต้องขุดเจาะถึง 624 เมตร
ภาพแสดงระยะเวลาในภาระกิจนี้
- 6 สิงหาคม 2553 เหมืองถล่มลงมา
- 22 สิงหาคม จากการส่งกล้องลงไปตามช่องระบายอากาศ พบ และได้รับการติดต่อจาก พนังงานเหมืองว่ามีผู้รอดชีวิต
- 17 กันยายน เริ่มขุดเจาะด้วย เครื่องเจาะ Schramm T-130
- คาดว่าวันที่ 10 ตุลาคม อุโมงค์จะขุดเจาะสำเร็จ
ภาพแสดงตำแหน่ง พื้นที่บริเวณเหมือง
- โดย DRILL A คือตำแหน่งติดตั้งเครื่องเจาะ A ตำแหน่งนี้งานล่าช้าที่สุด
- ส่วน DRILL B คือตำแหน่งติดตั้งเครื่องเจาะ B ตำแหน่งนี้งานล่า
- และ จุดสีเหลือง DRILL B คือ ตำแหน่งเครื่องเจาะ Schramm T-130 ที่คาดว่าจะประสบความเสร็จ ในการกู้ชีพครั้งนี้ ในไม่กี่วันข้างหน้า
ภาพตัดแสดง ภาระกิจกู้ชีพคนงานเหมือง
- สีเทาเข้มตรงกลางเป็น แนวอุโมงค์เหมือง
- ไล่ลงไปเรื่อยๆจะพบ จะพบข้อความ "TUNNEL COLLAPSED" คือตำแหน่งที่เหมืองถล่ม กักพนักงานเหมืองไว้เบื้องล่าง 33 ชีวิต
- ไล่ลงไปเรื่อยอีกจะพบกรอบสีดำ และข้อความ WORKSHOP ARER คือห้องทำงาน ที่พนักงานเหมืองใช้เป็นพื้นที่ อาศัย และด้านหน้าของบริเวณนี้คือตำแหน่งที่ แคปซูลช่วยชีวิตจะลงมารับตัวคนงานเหมือง ขึ้นสู่ด้านบน
- ไล่ลงไปอีกนิดจะพบกรอบสีดำ และข้อความ REFUGE AREA คือ พื้นที่หลบภัย ที่ เหมืองใช้เป็นพื้นที่ อาศัย
อุปกรณ์ช่วยชีวิต คนงานเหมือง ตลอดระยะเวลา 64 วันที่ผ่านมา และในภาระกิจสุดท้าย
หน้าตาของคนงานเหมืองทั้ง 33 คน ที่ติดอยู่ใต้พื้นโลกกว่า 600 เมตร เป็นเวลากว่า 2 เดือน ล่วงมาแล้ว
- หลายคนอาจสงสัยว่า พวกเขารอดชีวิตอยู่ได้อย่างไร ตลอดเวลา 64 วันที่ผ่านมา
- เนื่องจากถึงเหมืองไม่ถล่ม เหมืองที่ลึกถึงขนาดนี้จะมีการเจาะช่องระบายอากาศ พร้อมระบบระบายอากาศ และส่งอากศลงสู่เบื้องล่างไว้เป็นระยะๆ ทำให้พวกเขาไม่ขาดอากาศหายใจตาย เมื่อติดอยู่ในเหมือง
- ก่อนที่จะมีการค้นพบว่าพวกเขารอดชีวิตก็กินเวลาถึง 16 วัน ระหว่างนั้นพวกเขาอาศัยกิน ดื่ม อาหาร ที่มีในพื้นที่หลบภัย
- หลังจากมีพบว่าพวกเขารอดชีวิตอยู่เบื้องล่าง 33 ชีวิต มีการเจาะรูขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซ็นติเมตร ที่มีชื่อเรียกว่า Supply Line เพื่อส่ง กระบอกรูปทรงจรวดความยาว 1.6 เมตร ที่มีชื่อเรียกว่า Paloma ภายในมีการใส่ อาหารเสริมที่อยู่รูปน้ำ ยา เวชภัณฑ์ต่างๆ และอุปกรณ์สร้างแสงสว่าง อื่นๆ ลงไปให้ คนงานเหมือง
- หลังจากการเจาะอุโมงค์สำเร็จ จะมีการเสริมความแข็งแรงอุโมงค์ด้วยท่อเหล็ก ป้องกันอุโมงค์นี้ถล่มลงมา
- แล้วจะมีการส่ง แคปซูลเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 54 เซ็นติเมตร ลงไปตามอุโมงค์ เพื่อใช้สำหรับดึงตัว คนงานเหมืองขึ้นมาทีละคน ซึ่งอาจใช้เวลาในการดึงต่อคน 15 - 25 นาที/คน
- โดยรอบของ แคปซูล มีการติดตั้งล้อ เพื่อลดแรงเสียดทาน ระหว่าง แคปซูล และผนังในระหว่างการดึงแคปซูล ขึ้นมา
- ภายในแคปซูลมีการติดตั้ง กล้อง และวิทยุ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสาร กัน ระหว่าง คนงานเหมืองกับ ทีมกู้ภัยด้านบน
- แคปซูลนี้มีความยาว 3.9 เมตร หนัก 420 กิโลกรัม ภายในมีความกว้างพอเพียงแค่ยืนเท่านั้น จึงนั้นยิ่งทำให้เกิดความปลอดภัยยิ่งขึ้น ถึงแม้คนงานจะเป็นลม หรือหมดสติในระหว่างการดึงตัวขึ้น พวกเขาก็จะไม่ได้รับอันตราย จากการล้ม
หน้าตาของคนงานเหมืองทั้ง 33 คน ที่ติดอยู่ใต้พื้นโลกกว่า 600 เมตร เป็นเวลากว่า 2 เดือน ล่วงมาแล้ว
ข้อมูลอ้างอิง