Bermuda Triangle สามเหลี่ยมเบอร์บิวด้าเป็น 1 ในสถานที่อันตรายที่สุดในการเดินเรือ และการบิน มันถูกเรียกว่า สามเหลี่ยมของปีศาจ เนื่องจากมีปรากฏการณ์ที่เรือเดินสมุทร และเครื่องบิน จำนวนมากได้หายสาบสูญ ไปอย่างไม่ทราบสาเหตุ เป็นจำนวนมาก
รายละเอียดเกี่ยวกับ สามเหลี่ยมเบอร์บิวด้า
- สามเหลี่ยมเบอร์บิวด้า เป็น บริเวณที่ถูกสมมุติขึ้นมาบนบริเวณ ตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ โดยการขีดเส้นตรงผ่าน 3 จุดดังต่อไปนี้ 1.เกาะเบอร์มิวด้า 2.ปลายสุดของรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา 3.ทางเหนือของประเทศเปอร์โตริโก
- การหายสาบสูญส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณ ตามแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของหมู่เกาะบาฮามาส(Bahamas) และช่องแคบฟลอริดา(Straits of Florida) ซึ่งในบริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่มีการจราจร หนาแน่นที่สุดในโลก
- เรื่องราวของ สามเหลี่ยมเบอร์บิวด้าถูกจุดประเด็นขึ้นมาเมื่อ วันที่ 16 กันยายน 1950 ในบทความของ Associated Press โดย Edward Van Winkle Jones ถึงการหายสาบสูญไปอย่างผิดปกติในพื้นที่ของ สามเหลี่ยมเบอร์บิวด้า
- มีทฤษฎีจำนวนมากที่จะพยายามอธิบายถึง สาเหตุการหายสาบสูญนี้ ทั้งเรื่องการปั่นป่วนของกระแสแม่เหล็ก ทั้งในแง่กระแสน้ำ ทั้งจากพายุเฮอริเคน ทั้งจากการโจมตีของยานดำน้ำลึกลับ ทั้งจากการหลุดไปในต่างมิติ ฯลฯ
- จากการค้นคว้าล่าสุดที่ได้เปิดเผยในปี 2010 จากการศึกษาของนักศึกษาเกียรตินิยมนามว่า เดวิด เมย์(David May) ภายใต้การแนะนำของ ศาสตราจารย์ Joseph Monaghan แห่ง มหาวิทยาลัย Monash แห่งเมลเบิร์น(Melbourne) ที่ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยใน นิตยสารฟิสิกส์(American Journal of Physics)
- โดยแบบจำลองของพวกเขาแสดงให้เห็นว่า ฟองก๊าซขนาดใหญ่ สามารถจะจมเรือได้ ในรายงานยังได้เสนอให้มีการเพิ่มน้ำหนักการแจ้งเตือนเรือ เพื่อระวังภัยเพิ่มมากขึ้นเมื่อต้อง เดินทางผ่านบริเวณที่มีการเกิดฟองก๊าซมีเทน
ภายใต้อุณหภูมิต่ำ และความกดดันมหาศาลใต้มหาสมุทรก๊าซมีเทนจะอยู่ในสภาพเป็นของแข็ง ที่จะเรียกว่า มีเทนไฮเดรท(Methane Hydrate) ดังที่จะเห็นได้จากภาพซ้ายเป็นภาพของ มีเทนไฮเดรทที่สะสมตัวเป็นเนินอยู่ที่พื้นมหาสมุทร ในอ่าวเม็กซิโก ภาพขวาจะเห็นว่ามีเทนไฮเดรทสามารถลุกติดไฟได้เป็นอย่างดี
หากเกิดสภาพไม่สมดุลย์ของ อุณหภูมิ และ ความดัน จะทำให้มีเทนไฮเดรท เปลี่ยนสภาพจากของแข็ง เป็น ก๊าซมีเทน ลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ ดังในภาพ
- ฟองก๊าซมีเทนขนาดใหญ่นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จาก มีเทนแข็ง(Methane Hydrate) ที่สลายตัวเกิดเป็นก๊าซมีเทนลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ
- จากการสำรวจพื้นมหาสมุทร ด้วย โซน่าร์ ในบริเวณทะเลเหนือ (ระหว่างอังกฤษ กับทวีปยุโรป) และในบริเวณ สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า พบว่ามีแหล่งมีเทนแข็งจำนวนมาก และยังพบร่องรอยการระเบิดในอดีต
- ฟองก๊าซมีเทนที่ลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำไม่ได้มีรูปทรงเป็น ทรงกลม แต่มีลักษณะ คล้ายรูปทรงเลนส์(ด้านบนมีลักษณะโค้ง ด้านล่างเรียบ)
- เดวิด เมย์ ได้จำลองการทดลองโดยใช้ การกักน้ำไว้ระหว่างแผ่นกระจกที่วางในแนวตั้ง 2 แผ่น ทำการปล่อยฟองก๊าซจากด้านล่าง ด้านบนผิวน้ำมีโมเดลเรือลอยอยู่
เดวิด เมย์ พบว่า ฟองก๊าซขนาดใหญ่เท่าความยาวเรือ สามารถจมโมเดลเรือลงได้ขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งที่ฟองก๊าซลอยขึ้นมาสัมผัสเรือ
ในช่วงตั้งสมมุติฐาน เดวิด เมย์ คิดว่าเมื่อฟองก๊าซลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ แล้วแตกตัวจะทำให้ผิวน้ำเกิดเป็นหลุมทำให้เรือตกลงไปในหลุมนั้น แต่ เมื่อทำการทดลอง เดวิด เมย์ พบว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นผิด เนื่องจากเมื่อฟองก๊าซแตกตัว นั้นจะเกิดลำน้ำความเร็วสูงพุ่งขึ้นมาดังในภาพ g และลำน้ำนี้จะตกลงนี้จะเป็นตัวดึงเรือลงสู่พื้นมหาสมุทรเบื้องล่าง
ในช่วงตั้งสมมุติฐาน เดวิด เมย์ คิดว่าเมื่อฟองก๊าซลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ แล้วแตกตัวจะทำให้ผิวน้ำเกิดเป็นหลุมทำให้เรือตกลงไปในหลุมนั้น แต่ เมื่อทำการทดลอง เดวิด เมย์ พบว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นผิด เนื่องจากเมื่อฟองก๊าซแตกตัว นั้นจะเกิดลำน้ำความเร็วสูงพุ่งขึ้นมาดังในภาพ g และลำน้ำนี้จะตกลงนี้จะเป็นตัวดึงเรือลงสู่พื้นมหาสมุทรเบื้องล่าง
- ส่วนในกรณีของเครื่องบิน ก๊าซมีเทนที่ลอยตัวขึ้นสูงถึงระดับเพดานบิน ก๊าซมีเทนจะมีผลต่อระบบจุดระเบิดในเครืองยนต์ และมีผลต่อแรงยกตัวของเครืองบนจนเครื่องตกในที่สุด