wowboom
แหล่งรวมทุกเรื่องราว อันเป็นที่สุด แปลก ทั้งมีสาระ และไม่มีสาระ ที่คุณต้องทึ่ง.
ถังเคมีดับเพลิง ( Fire Extinguishers )
ถังเคมีดับเพลิง ( Fire Extinguishers )
ถังเคมีดับเพลิง แยกออกได้ 6 ประเภทใหญ่ ตามสารเคมีดับเพลิงที่บรรจุในถังเคมีดับเพลิง
ถังเคมีดับเพลิง ชนิดกรดโซดา ( Soda Acid )
ลักษณะถังบรรจุ :
ถังสีแดงไม่มีสาย ไม่มีคันบีบ
ลักษณะการใช้งาน :
ต้องกระแทรกให้หลอดบรรจุกรดโซดาแตก ที่บริเวณหัวถัง เพื่อทำปฏิกิริยากับ น้ำในถังทำให้เกิด แก๊สเป็นแรงขับดันในถัง แล้วคว่ำหัวถังลง แล้วน้ำจะพุ่งผ่านหัวฉีดเข้าดับไฟ
ใช้ดับไฟประเภท :
ไฟประเภท A อย่างเดียว
สถานะปัจจุบัน :
ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม ไม่มีจำหน่ายในเมืองไทยแล้ว
ถังเคมีดับเพลิง ชนิดฟองโฟม ( Foam )
ลักษณะถังบรรจุ :
นิยม บรรจุในถังอลูมิเนียมสีครีมหรือถังสแตนเลส มีหัวฉีดเป็นหัวฝักบัว บรรจุอยู่ในถังที่มีน้ำยาโฟม ผสมกับน้ำแล้วอัดแรงดันเข้าไว้ (นิยมใช้โฟม AFFF)
ลักษณะการใช้งาน :
เวลา ใช้ ถอดสลักและบีบคันบีบบริเวณด้ามจับ แรงดันที่อัดไว้จะดันน้ำผสมกับโฟมยิงผ่านหัวฉีดฝักบัว พ่นออกมาเป็นฟอง กระจายไปปกคลุมบริเวณที่เกิดไฟไหม้ ทำให้การอับอากาศ ทำให้ไฟขาดออกซิเจน และลดความร้อนที่เป็นองค์ประกอบการเกิดไฟ 2 ใน 3 ตัว
ใช้ดับไฟประเภท :
B และ A
ถังเคมีดับเพลิง ชนิดน้ำสะสมแรงดัน ( Water Pressure )
ลักษณะถังบรรจุ :
บรรจุถังแสตนเลส หรือ บรรจุถังกันสนิมสีแดง บรรจุน้ำอยู่ในถัง แล้วอัดแรงดันน้ำเข้าไว้ จึงเรียกว่า น้ำสะสมแรงดัน
ลักษณะการใช้งาน :
เวลาใช้ ถอดสลักและบีบคันบีบบริเวณด้ามจับ แรงดันที่อัดไว้จะดันน้ำที่บรรจุภายในถัง ดันผ่านหัวฉีดฝักบัว
ใช้ดับไฟประเภท :
ใช้ดับไฟประเภท A
ถังเคมีดับเพลิง ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ ซีโอทู (Carbondioxide)
ลักษณะถังบรรจุ :
นิยมบรรจุถังสีแดง ต่างประเทศบรรจุถังสีดำ ภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในถังที่ทนแรงดันสูง ประมาณ 800 -1200 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ที่ปลายสายฉีดจะมีลักษณะเป็นกรวย
ลักษณะการใช้งาน :
เวลา ใช้ ถอดสลักและบีบคันบีบบริเวณด้ามจับ จะพ่นหมอกหิมะออกมาไล่ความร้อน และออกซิเจนออกไป โดยฉีดเข้าใกล้ฐานของไฟให้มากที่สุด ประมาณ 1.5 - 2 เมตร เมื่อ ใช้งานแล้วจะไม่มีสิ่งสกปรกหลงเหลือ เวลาใช้งานจะเสียงดังเล็กน้อยเวลาใช้งาน นิยมใช้งานภายในอาคารที่ต้องการความสะอาดหรือ มีอุปกรณ์ อิเล็กโทรนิก
ใช้ดับไฟประเภท :
ใช้ดับไฟประเภท C และ B
ถังเคมีดับเพลิง ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Powder)
ลักษณะถังบรรจุ :
บรรจุถังสีแดง ต่างประเทศบรรจุถังสีฟ้า บรรจุผงเคมี ซึ่ง มีหลายชนิด หลายคุณภาพไว้ในถัง แล้วอัดแรงดันเข้าไป เวลาใช้
ขบวนการทำงาน :
ผงเคมีจะถูกดันออกไป คลุมไฟทำให้อับอากาศ และสารเคมีตัดกระบวนการทางเคมี
ลักษณะการใช้งาน :
เวลาใช้ ถอดสลักและบีบคันบีบบริเวณด้ามจับ แรงดันจะผลักดันผงเคมีแห้งออกมา
ข้อพิจารณาการใช้ :
ควร ใช้ภายนอกอาคาร เพราะผงเคมีจะพุ้งเป็นฝุ่นละอองฟุ้งกระจายทำให้เกิดความสกปรก และเป็นอุปสรรคในการเข้าผจญเพลิง อาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าราคาแพง เสียหายได้
ใช้ดับไฟประเภท :
ใช้ดับไฟได้ดีคือ ไฟประเภท B ผงเคมีไม่เป็นสื่อไฟฟ้า สามารถดับไฟประเภท C ได้ (แต่อุปกรณ์ไฟฟ้าอาจเสียหายจากผงเคมี)
ถังเคมีดับเพลิง ชนิดฮาโลตรอน ( Halotron )
ลักษณะถังบรรจุ :
บรรจุถังสีเขียว หรือเหลือง แต่เดิมบรรจุน้ำยาเหลวระเหย ชนิด โบรโมคลอโร ไดฟลูออโร ซึ่งเป็นสาร CFC ไว้ในถัง ใช้ดับไฟได้ดีแต่มีสารพิษ และในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ ประกาศให้เลิกผลิตพร้อมทั้งให้ทุกประเทศ ลด ละ การใช้จนหมดสิ้น เพราะเป็นสารที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ลักษณะการใช้งาน :
เวลาใช้ ถอดสลักและบีบคันบีบบริเวณด้ามจับ สามารถฉีดใช้ได้ไกลกว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไซด์ คือระยะ 3-4 เมตร
ใช้ดับไฟประเภท :
ใช้ดับไฟประเภท C และ B ส่วนไฟประเภท A ต้องมีความชำนาญ
ข้อมูลอ้างอิง ถังเคมีดับเพลิง
http://thaistopfire.blogspot.com/2009/03/fire-extinguishers.html
‹
›
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับเว็บ